Monday, March 25, 2013

นักวิชาการจวก กสทช. ให้ช่องทีวีสาธารณะช่อง5-11

นักวิชาการจวก กสทช. ให้ช่องทีวีสาธารณะช่อง5-11
เปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น จวก กสทช. อนุมัติช่องทีวีสาธารณะ ด้าน กสทช. สรุป 5 ประเด็น เข้าบอร์ด กสท. 1 เม.ย. พร้อมเสนอทุก ม.ทำโพล ถามประชาชน...เมื่อวันที่ 25 มี.ค.นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น ว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. วันนี้ คือ 3 ต่อ 2 ไม่เอกฉันท์เรื่องการอนุมัติช่องทีวีดิจิตอลสาธารณะจำนวน 12 ช่อง เหลือ 8 ช่อง สำหรับ 4 ช่องที่หายไป เพราะไทยพีบีเอส ขอเพิ่ม 2 ช่อง ทำช่องเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว พร้อมบอกว่าจะคืนคลื่นเมื่อไร แต่ช่อง 5 และช่อง 11 ยังไม่บอกว่าจะคืนคลื่นเมื่อไร และยังไม่บอกว่าจะเอาไปทำอะไร อีกทั้งได้สิทธิ์ออกอากาศคู่ขนานระบบอนาล็อกไปพร้อมกับระบบดิจิตอลด้วย มติบอร์ด กสท. วันนี้ เป็น 3:2 ไม่เอกฉันท์ เรื่องการแบ่งช่องทีวีสาธารณะ 4 ช่อง ให้ไทยพีบีเอส 2 ช่อง ช่อง 5 จำนวน 1 ช่อง และช่อง 11 จำนวน 1 ช่อง ซึ่งไทยพีบีเอสไม่มีปัญหา แต่ช่อง 5 และ 11 คิดว่า ขัดเจตนารมณ์ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะให้ช่อง น.ส.สุภิญญา กล่าว กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ส่วนตัวยอมรับว่าการอนุมัติของบอร์ดวันนี้ ทำให้พ่ายแพ้ 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องการปฏิรูปสื่อในการเป็นช่องสาธารณะ และเป็นการเอาเปรียบช่อง 3 7 9 มีการโหวตว่าช่องสาธารณะจะออกมาอย่างไร เปนความล้มเหลวในการปฏิรูปสื่อ ในการให้ช่องไปเลย 2.การจัดช่องทีวีสาธารณะ เพราะยังไม่มีเกณฑ์จัดช่องรายการสาธารณะ และยังไม่มีการแบ่งสัดส่วนทั้ง 8 ช่องให้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้หน่วยงานภาคการศึกษา และประชาชนไม่สามารถเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม บอร์ด กสทช.ต้องพิจารณาการจัดสรรช่องทีวีสาธารณะใหม่ ขณะที่ส่วนตัว และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ต้องสู้เพื่อสาธารณะจนถึงที่สุด นางสาวอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การจัดตั้งองค์กรไม่ควรดูเฉพาะด้านเนื้อหา แต่ กสทช.ต้องไปตรวจสอบทั้งหมด ขณะเดียวกัน กสทช.ไม่ได้มีหน้าที่ต้องแจก แต่ต้องดูว่าผู้ประกอบการรายใดพร้อมแล้วค่อยแจก ซึ่งการแจกไม่ต้องรีบ และต้องคุยกันแล้วว่าใครเป็นผู้ดูแล ด้านนายทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการแบ่งช่องทีวีสาธารณะเปรียบเสมือนการลงทุนมหาศาล ที่สูญเสียเงินของชาติมากมาย และแต่ละผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในโครงข่ายไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งต้องแบกภาระทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ว่าจะอยู่รอดได้ คิดว่า 12 ช่องนี้ ในอนาคตเกิดจากการล็อกสเปก เอื้อกับข้าราชการ สวนกระแสกับเทรนด์ ดังนั้นจึงขอเสนอว่าควรจะค่อยๆ ให้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรตั้งผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์การนำเสนอรายการแต่ละอย่างว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้จริงหรือไม่ เช่น รายการสำหรับผู้พิการ ว่าเมื่อทำแล้วเข้าถึงผู้พิการได้หรือไม่ ขณะที่ นางสาวสุภาพร โพธิ์แก้ว อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอตั้งคำถามและเรียกร้อง กสทช. ให้มีวัฒนธรรมในการทำงาน โดยให้เอาเสียงของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจุดนี้ยังไม่เห็นความชัดเจน หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นกับ กสทช.เลย เพราะสิ่งที่เสนอไปกลับไม่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของมติบอร์ด อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าการมีทีวีสาธารณะจะสิ้นเปลืองหรือไม่ การหารายได้และการตรวจสอบการนำไปใช้จะเป็นอย่างไร นางสาวสุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผอ.สถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช. ใช้ดุลพินิจตัดสินไปแล้ว 4 ช่อง เอาอะไรเป็นเกณฑ์ แล้วเอาอะไรมาบอกว่า เอ็มโอยูที่ทำไปแล้วถูกกฎหมาย คุณกำลังจะบอกว่าสิ่งที่คุณทำประชาชนอยากเห็น แต่สิ่งที่ตามมา คือ การไม่ชอบด้วยกฎหมาย นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า จากเวทีในวันนี้ ประเด็นทั้งหมดจะถูกรวบรวมเพื่อนำไปเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้สรุปได้ 5 ข้อ ได้แก่ 1.ที่ประชุมฯ เห็นตรงกันเรื่องอัพเกรดรายเดิม ใช้สิทธิ์คลื่นดิจิตอลโดยอัตโนมัติโดยไม่ปรับตัวอะไรเลยไม่ได้ ซึ่งได้แก่ ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส แต่ต้องมีเงื่อนไข โดยเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้น กสทช.ต้องเป็นผู้กำหนด โดยที่ทั้ง 3 ช่อง ต้องปรับตัวตาม 2.การกำหนดเนื้อหาช่องต้องมีการปรับการเป็นเจ้าของ และกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย ในภาคประชาชน 20% แต่ถ้าไม่พร้อม ให้ชะลอการออกใบอนุญาตออกไปก่อน 3.ช่องความมั่นคง ปลอดภัย ช่องเด็ก ช่องทั่วไป ต้องมีนิยามที่ชัดเจน ซึ่ง กสทช.ต้องดำเนินการ 4.ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน มีกรรมการนโยบายที่เลือกมาจากคนนอก และ 5.เกณฑ์การประกวดบิวตี้ คอนเทสต์ แต่ละช่องรายการ ซึ่งยังไม่มี เพราะถ้าไม่มีเกณฑ์ อาจเกิดช่องโหว่และเกิดการฟ้องร้องตามมา นอกจากนี้ ยังเสนอให้แต่ละมหาวิทยาลัยทำแบบสำรวจความคิดเห็น (โพล) ประชาชนต่อไป  

No comments:

Post a Comment

Blog Archive