Tuesday, April 23, 2013

กสทช.สัมมนาเปิดมุมมอง จรรยาบรรณสื่อ-องค์กรกำกับ

กสทช.สัมมนาเปิดมุมมอง จรรยาบรรณสื่อ-องค์กรกำกับ
กสทช. ร่วมกับ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนจรรยาบรรณในมุมมองของสื่อและองค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศ...เมื่อ วันที่ 23 เม.ย. นายลูกัส ลอวอลโซ The Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) กล่าวในเวทีสัมมนา เรื่อง จรรยาบรรณในมุมมองของสื่อและองค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศ จัดโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ว่า มุมมองจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวประเทศอินโดนีเซีย ภูมิทัศน์สื่อว่าปัจจุบันมีสื่อสิ่งพิมพ์มีคนอ่านน้อยลง ขณะที่ สถาบันที่กำกับดูแลสื่อ ประกอบด้วย 1. Press Council  2. Advertising Council และ 3. Broadcasting Commissino สำหรับ การทำข่าวในอินโดนีเซีย ทาง Broadcasting Commission จะให้ Press Council ช่วยพิจารณาเนื้อหาสื่อทางวิทยุ-โทรทัศน์ ด้วยผู้แทนจาก SEAPA กล่าวต่อว่า อินโดนีเซียมีความอ่อนไหวในเรื่องสื่อ เนื่องจากคนในสังคมมีความหลากหลาย  จึงพยายามส่งเสริมให้ผู้ทำการโฆษณาคำนึงถึงผู้รับสาร ขณะที่การคุ้มครองสิทธิเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก และพยายามขจัดสื่อลามกอนาจาร นั่นคือมีกฎหมายสื่อลามกใช้ในประเทศ ส่วนการนำเสนอข่าว ต้องไม่เป็นเรื่องโกหก ลามก ละเมิดสิทธิสตรี เด็ก หรือการระบุชื่อเหยื่อที่ได้รับความรุนแรงทางเพศ ส่วนที่ไม่ได้ห้ามโฆษณา  คือ การโฆษณาอาหารเด็ก บุหรี่ และฉลาก ตามที่กฎอิสลามอนุญาต เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภค นายลูกัส กล่าวอีกว่า ปี 2012 มีสื่อมวลชนทำผิดจรรยาบรรณ กรณีใช้ตำแหน่งตัวเองในการไปซื้อหุ้นราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในอินโดนีเซีย ถือว่าผิดจรรยาบรรณ รายการ Talkshow ในอินโด คนร้องเรียนมากที่สุด เรื่องเชิญแขกรับเชิญที่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่โฆษณามีการร้องเรียนน้อยกว่ารายการอื่นนายคริส บานาทวาลา ผู้แทนจาก Ofcom ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ofcom วิจัยผู้บริโภคว่าเชื่อถือสื่ออะไร ซึ่งผลปรากฏว่า เชื่อถือสื่อโทรทัศน์มากกว่าวิทยุ ขณะที่ คำว่าความเป็นกลาง หรือความเหมาะสมในจรรยาบรรณ จะต้องไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทางยุโรปกำหนดห้ามมีสปอนเซอร์ในข่าวผู้แทนจาก Ofcom ประเทศอังกฤษ กล่าวต่อว่า คนที่ถือใบอนุญาตของ Ofcom ในอังกฤษจะต้องไม่ส่งเสริมหรือยัดเยียดความคิดให้กับประชาชน คือต้องมีความเป็นกลางในการรายงานข่าวนั่นเอง ขณะที่ สหรัฐฯ จะให้เสรีภาพในการแสดงออกมากกว่าประเทศอื่น  ฉะนั้นในกรอบจรรยาบรรณเรื่องของ Due หรือความเหมาะสมจะไม่มี โดยหนังสือพิมพ์ในประเทศอังกฤษ จะเป็นการควบคุมที่ต่างออกไป ปัจจุบันจะเป็นการกำกับดูแลตนเอง (  Self-regulated )นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี รองประธาน อนุกรรมการต่างประเทศ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการของการกำกับดูแลกันเองมากว่า 40 ปี แล้วหลังจากมีการยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 ที่จำกัดเสรีภาพในการนำเสนอ แต่รัฐพยายามเรียกร้องว่าต้องมีกฎหมาย กลไล ควบคุมสื่อโดยรัฐ คือ สถาการหนังสือพิมพ์ กระทั่งปี 2540 ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญระบุให้มีกำกับดูแลกันเองของสื่อ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ที่ครอบคลุมทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ สภาวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ ทั้งนี้ หากศึกษาดูว่าประเทศใดบ้างที่มีสภาสื่อมวลชนที่ออกมาเป็น กฎหมาย พบว่าประเทศ ประชาธิปไตย จะไม่มีองค์กรใดที่มีสภาวิชาชีพที่ใช้อำนาจตาม กฎหมาย สำหรับประเทศไทยไม่มีกฎหมายสื่อมวลชน เพราะมีการรับรองสิทธิเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญไว้ เริ่มมีวิทยุโทรทัศน์ที่หลากหลาย เมื่อสภาการหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น ควรต้องเป็นอิสระจากรัฐ กำกับดูแลกันเองอย่างแท้จริง รองประธาน อนุกรรมการต่างประเทศ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวต่อว่า หลังจากมี กสทช. สภาวิชาชีพเกิดขึ้นมากมาย อาทิ สภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ มีการตรวจสอบจริยธรรม เกี่ยวกับการรายงานว่า จ่ายสินบนให้นักข่าวช่วงเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าไม่พบ กรณีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางไปกับประธาน รัฐสภา ไปทัวร์ประเทศอังกฤษ กรณีที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และถูกตั้งคำถามมากที่สุด คือ ไร่ส้ม โดยมีการเรียกร้องให้เกิดความยุติธรรม เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสมาชิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยสมาคมนักข่าวฯ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบทางจริยธรรมด้วยการลาออก ซึ่งตรวจสอบไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องไปตรวจสอบกับทางสถานีเพื่อครอบคลุมไปถึงพนักงานของสถานี โดยล่าสุดยังอยู่ในกระบวนการ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวคิดแบบการกำกับดูแลร่วม หรือ  การผสมรวมระหว่างอุตสาหกรรมและกฎหมาย แต่ต้องเป็นแนวคิดที่ให้อิสระกับองค์กรที่ดูแลกันเอง โดยที่ กสทช. ไม่ควรมาแทรกแซงแต่แรก ควรส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพดำเนินการนายชวรงค์ กล่าวอีกว่า ประเด็นปัญหาล่าสุด คือ ร่างประกาศในการกำกับดูแลตนเอง ยังมีแนวทางที่แตกต่างกันว่า ลักษณะของการกำกับดูแลแบบผสม จะเป็นแบบเข้มข้น เป็นลักษณะที่ กสทช.ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นกำหนด กำหนดสัดส่วน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมาจากที่ กสทช. รับรอง หรือ การกำกับดูแลแบบผสมแบบเจือจาง เป็นลักษณะที่ กสทช. ค่อยไปกำกับการทำงานทีหลัง โดยปล่อยให้องค์กรวิชาชีพ สรรหากันเอง เพิกถอนได้หากไม่ทำตามหน้าที่รองประธาน อนุกรรมการต่างประเทศ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กฎหมายเขียนให้อำนาจองค์กรกำกับดูแลตนเองขาดไปเลย กสทช.จำเป็นต้องเข้ามากำหนดเงื่อนไขบางอย่าง หากไม่ทำแบบเข้มข้นอาจไม่มีทางออก ขณะเดียวกัน ประเด็นที่น่าห่วง คือ คณะกรรมการยกร่างบางส่วนมองว่า องค์กรกำกับดูแลตนเองไปขึ้นทะเบียนกับ กสทช. ควรจะต้องได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. และส่วนตัวเป็นห่วงว่าหากมีการรับเงินจาก กสทช. แล้วจะไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง และจะมีกลุ่มผู้อยากได้เงินทุก ไปจดทะเบียนองค์กรวิชาชีพมากมาย และภาคประสังคมควรมาช่วยกันเพื่อให้เกิดการกำกับดูแล อย่างไรก็ตาม การกำกับดูแลร่วมกัน ต้องใช้อำนาจ กสทช. มาจัดการ กรรมการ กสทช. ไม่มีกระบวนการจัดการได้โดยตรงหากองค์กรวิชาชัพจัดการไม่ได้.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive