Monday, April 22, 2013

แนะกสทช.ทำวิจัยผู้บริโภคก่อนออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะ

แนะกสทช.ทำวิจัยผู้บริโภคก่อนออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะ
อธิการบดี ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ แนะ กสทช.ศึกษาวิจัยผู้บริโภคก่อนว่า ต้องการอะไรเป็นหลัก ก่อนออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะ ขณะที่ผู้แทน SEAPA ชี้จับตาบทบาท กสทช.เรื่ององค์กรกำกับดูแลสื่อ... เมื่อวันที่ 22 เม.ย. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดสัมมนา เรื่อง จรรยาบรรณในมุมมองของสื่อและองค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 22-23 เม.ย.2556นายคริส บานาทวาลา ผู้แทนจาก Ofcom ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า รูปแบบการกำกับดูแลของประเทศอังกฤษมี 3 แบบ ประกอบด้วย  1.การกำกับดูแลตนเอง หมายถึง อุตสาหกรรมจะเป็นผู้ออกแบบเอง ไม่มีการบังคับ ส่วนจรรยาบรรณในส่วนนี้ องค์กรวิชาชีพเป็นผู้ออกกฎและปฏิบัติร่วมกัน 2.การกำกับดูแลร่วม หมายถึง การผสมรวมระหว่างอุตสาหกรรมและกฎหมาย บางครั้งดูแลกันเอง แต่ท้ายสุดจะมีอำนาจตามกฎหมาย 3.การกำกับดูแลตามกฎหมาย หมายถึงต้องมีรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องกฎหมายต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนสำหรับ ข้อดี-ข้อเสีย ของการกำกับดูแลทั้ง 3 ประเภท คือ 1.การกำกับดูแลตนเอง คือ ได้รับความร่วมมือ มีความยืดหยุ่น สามารถทำงานได้เอง และเป็นอิสระ ส่วนข้อเสีย คือ ไม่มีหลักประกันว่าอุตสาหกรรมจะปฏิบัติตาม และมีอำนาจค่อนข้างจำกัด อีกทั้งไม่มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วม รวมทั้งอาจเสี่ยงถ้าไม่มีสมาชิกเข้าร่วมจะดำเนินการได้ยากมาก2. การกำกับดูแลร่วม แม้ว่าจะมีการผสมผสานแต่มีต้นทุนแพงกว่า และบางครั้งมีความสับสนด้วยว่าใครจะรับผิดชอบตรงส่วนไหน และถ้าหากมีข้อตกลงอาจจะหาข้อตกลงไม่ได้ เพราะมีข้อตกลง และความคิดเห็นหลากหลาย และ 3.การกำกับดูแลตามกฎหมาย มีอำนาจรัฐรองรับอยู่เป็นอิสระเชื่อถือได้ และคิดถึงประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจไม่มีความยืดหยุ่นนางสาวกายาทรี เวนกิเทสวรัญ ผู้แทนจาก The Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)  กล่าวว่า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรอยู่ประมาณ 600 ล้านคน ทำให้ภูมิทัศน์สื่อมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่การควบคุมของสื่อจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ส่วนสิ่งที่ท้าทายคือ การมีกฎหมายตัวอื่นเข้ามามีบทบาทกับการกำกับดูแล อาทิ กฎหมายความมั่นคง กฎหมายการลบหลู่ศาสนา และกฎหมายต่างๆ ผู้แทนจาก SEAPA กล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ คือการกำกับดูแลที่อุตสาหกรรมพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังไม่เห็นความสำคัญของประชาชนตามที่เป็นหัวใจหลัก ซึ่งน่าจับตาดูว่าประเทศไทยจะมีวิธีการจัดการอย่างไร และบทบาท กสทช. จะเดินหน้าต่อไปอย่างไรนางสาวพิรงรอง รามสูต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การตีความสิทธิ์ในการถือครองใบอนุญาต กสทช. ต้องระบุออกมาให้ชัดเจน และต้องมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ โดยกำหนดนิยามตามกฎหมายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ เพราะคำว่าใบอนุญาต มีความหมายเท่ากับ สิทธิ์ในการออกอากาศนายเรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กล่าวว่า การออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะของ กสทช. ที่จะเกิดขึ้นต้องถามผู้บริโภค หรือประชาชนก่อนว่า ต้องการอะไร โดยตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัย ก่อนที่จะให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างละเอียด เพราะหากจัดการเอง อาจจะดีแต่ยังไม่สมบูรณ์ถ้า กสทช. สามารถรับฟังความคิดเห็น ศึกษาวิจัยผลประโยชน์ว่า ประชาชนควรได้อะไรบ้าง เช่น สุขภาพ การศึกษา การเมือง การจัดสรรควรเป็นสัดส่วนเท่าไร ผลประโยชน์อยู่ที่ประชาชน กสทช. ก็ไม่ต้องกังวลอะไร.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive