
นักวิชาการ ฟันธง นิยามสื่อบริการสาธารณะของประเทศไทย ต่างจากคำนิยามของสากลโดยสิ้นเชิง ขณะที่ อ.คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้า ชี้ ความหมายทีวีบริการสาธารณะ ผิดจากเดิม เปรียบเสมือน ปชช.เป็นผู้รับบริการ ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง เพราะฉะนั้นอย่ามายุ่ง... เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ เรื่องทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีสาธารณะ จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า คำว่า ทีวีสาธารณะใจความสำคัญหลักใหญ่ คือ ต้องการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนทุกคน ที่ไม่มีสิทธิ์จะพูดกับสื่อ ได้มีโอกาสได้พูด เล่า และนำเสนอข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมา คนที่ต้องการใช้พื้นที่ในสื่อ ต้องทำสิ่งในที่รุนแรง เพื่อเรียกร้องความสนใจผ่านสื่อในเรื่องกระบวนการเป็นประชาธิปไตย อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า คำถามเกี่ยวกับทีวีสาธารณะ คือ ผู้ถือครองยังเป็นแบบเดิมหรือไม่ คำว่า ความมั่นคง เป็นความมั่นคงของใคร คำว่า รัฐ เป็นรัฐแบบไหน และประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงจะบอกเล่าหรือไม่ ส่วนคำว่า ทีวีบริการสาธารณะ คือ การบริการสาธารณะซึ่งผิดไปจากเดิม เพราะนั่นหมายความว่า ประชาชนเป็นผู้รับบริการ ไม่มีสิทธิ์มีเสียง เพราะฉะนั้นประชาชนอย่ามายุ่งนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า บริการสาธารณะเป็นคำศัพท์ทางกฎหมายมหาชน ในทางทฤษฎีต้องตอบสนอง 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ยึดโยงกับรัฐ และ 2. ตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งประเด็นสำคัญ คือ ทำอย่างไรทีวีแต่ละช่องจะมีเนื้อหาที่น่าสนใจและตอบสนองคนดูที่เป็นประชาชน ส่วนนิยามการไม่แสวงหากำไร หรือการไม่เน้นกำไร พ.ศ.2542 มีการตั้งหน่วยงานองค์การมหาชน เพราะรัฐต้องการตั้งหน่วยงานเพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่ต่างจากรัฐวิสาหกิจที่มุ่งหากำไร ดังนั้น การใช้ดุลพินิจของ กสทช. ควรออกประกาศหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด และต้องดำเนินการให้หลุดพ้นข้อครหาของตัวเอง เพื่อความรอบคอบและเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติและรัฐ และต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยไม่ใช่ดุลพินิจ นางสาวพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีจากอะนาล็อกมาสู่ดิจิตอล จะก่อให้เกิดการแข่งขันแบบใหม่ ที่สามารถเปิดให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้หลายช่องทางขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบอะนาล็อกที่แหล่งรายได้จะอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อว่า นิยามและความหมายตามทฤษฎีและที่ปฏิบัติกันในระดับสากลคำว่า ทีวีสาธารณะ หมายถึง การกระจายเสียงแพร่สาธารณะ Public Service Broadcasting (PSB) ซึ่งต้องมีบริการพื้นฐาน คือ ทุกคนต้องเข้าถึงได้ มีความเป็นสาธารณะไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ และเน้นความหลากหลาย แต่ที่ผ่านมาการดำเนินการของ กสทช. และการกำหนดนิยาม สามารถฟันธงได้ว่า นิยามสื่อบริการสาธารณะไทย ต่างจากคำนิยามของสากลโดยสิ้นเชิง นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า จากเวทีครั้งนี้ จะรวบรวมและสรุปก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ กสท.เพื่อขอให้ทบทวนเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกทีวีดิจิตอลสาธารณะ หรือ บิวตี้คอนเทส (Beauty Contest) ในวันที่ 29 เม.ย.นี้
No comments:
Post a Comment