Wednesday, December 19, 2012

เอ็นฟอร์ซฯ ปูพรมกลยุทธ์ปี56 เน้นโซลูชั่นใหม่ควบบริการลูกค้า

เอ็นฟอร์ซฯ ปูพรมกลยุทธ์ปี56 เน้นโซลูชั่นใหม่ควบบริการลูกค้า
เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ เผยนโยบายการดำเนินธุรกิจปี 2556 เปิดคอลเซ็นเตอร์ 24x7 เน้นงานบริการลูกค้า พร้อมขยายฐานลูกค้าเอสเอ็มอี ตั้งเป้ารายได้โต 20%...นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด ผู้จัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปดูแลและรับผิดชอบโครงการใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนได้รับความร่วมมือที่ดีจากพนักงาน พาร์ตเนอร์ และพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทมีอัตราการเติบโตประมาณ 22% โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2555 จะสามารถทำรายได้ประมาณ 340 ล้านบาทกรรมการผู้จัดการ เอ็นฟอร์ซฯ กล่าวอีกว่า ส่วนปี 2556 นั้น บริษัทมีนโยบายมุ่งเน้นให้ความสำคัญลูกค้าเป็นหลัก โดยเน้นตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งบริษัทมีแผนการทำตลาดในการมุ่งเน้นหาโซลูชั่น พาร์ตเนอร์ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มทางเลือกและตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากปัจจุบันพาร์ตเนอร์ มองบริษัทเป็นศูนย์รวมทางด้านไอที ซีเคียวริตี้ ดังนั้นบริษัทต้องมีทางเลือกทั้งสินค้าและบริการให้ลูกค้าได้ทุกขนาดขององค์กร โดยบริษัทมีแผนขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ไปยังองค์กรขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี) เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้ครอบคลุมทุกขนาด เนื่องจากไอที ซีเคียวริตี้ มีความสำคัญกับองค์กรทุกภาคส่วน ซึ่งจากเดิมบริษัทเน้นทำตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่มาโดยตลอด พร้อมกันนี้บริษัทจะเปิดให้บริการคอลเซ็นเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน และทีมไดเร็ค ทัช (Direct Touch) เพื่อตอบสนองความต้องการและพร้อมรับข้อเสนอแนะจากลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการ รวมถึงการสร้างดีมานด์ (Demand) แก่พาร์ทเนอร์ โดยตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ 20%นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจทางด้านไอที ซีเคียวริตี้อีก 2 ราย ได้แก่ ไฟร์มอน (Firemon) เป็นโซลูชั่นในการตรวจสอบและจัดการไฟร์วอลล์ และแรพพิต 7 (Rapid7) โซลูชั่นจัดการช่องโหว่ของโอเอส เน็ตเวิร์ก แอพพลิเคชั่น และดาต้าเบสนายนักรบ กล่าวด้วยว่า สำหรับทิศทางและแนวโน้มในการป้องกันระบบและข้อมูลสารสนเทศในปี 2556 และในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น Information-Centric Security Solution คือ จะไม่ได้ยึดติดกับระบบ IT Infrastructure หรือ Network-Centric อีกต่อไป เพราะรูปแบบพฤติกรรมการทำงานและการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ที่ต้องการความคล่อง ตัวและเน้นโมบิลิตี้มากขึ้น ผู้ใช้งานมีความต้องการและจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ทุกเวลาและจากอุปกรณ์ที่องค์กรไม่อาจจะสามารถตามไปควบคุมได้ เช่น อุปกรณ์พกพาส่วนตัว ทั้งแล็ปท็อปและสมาร์ทโฟน รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ เช่น ตามสนามบิน โรงแรม อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดนโยบายความมั่นคงสารสนเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีการระบุและพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งาน รวมถึงสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลต้องถูกนำขึ้นไปเก็บบนคลาวด์เซอร์วิส ทั้งแบบสาธารณะ (Public) หรือส่วนตัว (Private) ซึ่งล้วนมีความเสี่ยง จึงต้องพิจารณาเรียนรู้และหาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า Next Generation มาปรับใช้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทางด้าน Network เช่น Firewall, IPS, Wireless LAN, IPAM และทางด้าน Application เช่น Web Application Security, Message Security และทางด้าน Data เช่น Database Security, Access Control, Mobile Security เป็นต้น.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive