Saturday, December 8, 2012

ผลสำรวจพบองค์กรไทยเจอความซับซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น

ผลสำรวจพบองค์กรไทยเจอความซับซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น
ไซแมนเทค  เปิดเผยผลการสำรวจพบ องค์กรในไทยรายงานถึงความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ถึง 79 % เนื่องจากการใช้งานโมบายล์คอมพิวติ้ง เวอร์ช่วลไลเซชั่น และคลาวด์...บริษัท ไซแมนเทค คอร์ป เผยผลการสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ (State of the Data Center Survey) ประจำปี 2555 โดยผลการสำรวจอ้างอิงคำตอบจากบุคลากรฝ่ายไอที 2,453 คนจากองค์กรต่างๆ ใน 34 ประเทศ รวมถึง 100 องค์กร จากประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยพนักงานอาวุโสฝ่ายไอทีที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานและกลยุทธ์รวมไปถึงพนักงานที่ดูแลเรื่องการวางแผนและการจัดการไอทีผลการสำรวจดังกล่าวซึ่งจัดหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาท้าทายสำคัญๆ ที่องค์กรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวฯ เมื่อดาต้าเซ็นเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำถึงปัจจัยหลักที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผลกระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และโครงการริเริ่มล่าสุดที่ฝ่ายไอทีกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา  สาเหตุของความซับซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์เกิดจากหลายปัจจัย โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการปรับใช้แนวทางการบริหารจัดการข้อมูลอย่าง โปร่งใสเป็นโครงการหลักที่องค์กรต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ แบบสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดำเนินมาตรการเพื่อ จัดการทรัพยากรภายในองค์กรอย่างชาญฉลาด ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และควบคุมปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค กล่าวว่า ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจในเมืองไทยมีการสร้างข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเปรียบเสมือนการขับเคลื่อนและผลักดันให้ธุรกิจ เติบโตอย่างรวดเร็ว หรืออาจฉุดรั้งองค์กรไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า  ความแตกต่างอยู่ที่ว่าองค์กรจะต้องสามารถรับมือกับปัญหาท้าทายที่รออยู่ เบื้องหน้า ด้วยการปรับใช้แนวทางการควบคุม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือสร้างกลยุทธ์การบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น”รายงานเกี่ยวกับความซับซ้อนที่ เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์  จากผลสำรวจ พบว่าความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของการประมวลผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการกู้คืนระบบ การจัดเก็บข้อมูล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ  ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกให้คะแนนความซับซ้อนในทุกๆ ด้านในระดับที่ใกล้เคียงกัน (6.6 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยความปลอดภัยมีคะแนนสูงสุดที่ 7.1 คะแนน  ระดับความซับซ้อนโดยเฉลี่ยสำหรับบริษัททั่วโลกอยู่ที่ 6.7 คะแนน  ส่วนความซับซ้อนโดยเฉลี่ยในทวีปอเมริกาอยู่ในระดับสูงสุดที่ 7.8 ขณะที่เอเชีย-แปซิฟิกมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6.2ผลกระทบจากความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ มีความหลากหลายและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงมาก
มี ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ซับซ้อนมากขึ้น  ประการแรกคือ ผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าต้องจัดการกับแอพพลิเคชั่นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และแอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ  โดยในระดับโลก 65 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก  ส่วนในประเทศไทย 95 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าจำนวนแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวน เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก และปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทย ได้แก่ การเติบโตของแนวโน้มไอทีสำคัญๆ เช่น ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น (54 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม), คลาวด์คอมพิวติ้งสาธารณะ (49 เปอร์เซ็นต์), เซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่น (46 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และคลาวด์คอมพิวติ้งภายในองค์กร (46 เปอร์เซ็นต์) ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า ความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทย ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยผลกระทบที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในเมืองไทยก็คือ ต้องใช้เวลานานขึ้นในการค้นหาข้อมูล โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) ขององค์กรในประเทศไทยระบุว่าเป็นผลกระทบจากความซับซ้อน  ผลกระทบอื่นๆ ได้แก่ ใช้เวลานานขึ้นในการจัดสรรสตอเรจ (40 เปอร์เซ็นต์), การโยกย้ายสตอเรจ (36 เปอร์เซ็นต์), ความคล่องตัวลดลง (36 เปอร์เซ็นต์), การละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย (36 เปอร์เซ็นต์), ข้อมูลสูญหายหรือถูกจัดเก็บไว้ผิดที่ผิดทาง (36 เปอร์เซ็นต์), ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น (35 เปอร์เซ็นต์), ระบบหยุดทำงาน (35 เปอร์เซ็นต์) และความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (33 เปอร์เซ็นต์) องค์กรทั่วไปในระดับโลกประสบปัญหาดาต้าเซ็นเตอร์หยุดทำงานโดยเฉลี่ย 16 ครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวม 5.1 ล้านดอลลาร์ โดยสาเหตุหลักที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ ระบบหยุดทำงาน ตามมาด้วยข้อผิดพลาดของบุคลากร และภัยธรรมชาติ ฝ่ายไอทีดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน
จาก ผลการสำรวจ พบว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม การกำหนดมาตรฐานสำหรับฮาร์ดแวร์ การเพิ่มงบประมาณ และการปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง  ที่จริงแล้ว 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยมองว่าการเพิ่มงบประมาณและการจัดฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม (73 เปอร์เซ็นต์) ค่อน ข้างมีความสำคัญหรือมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการปัญหาความยุ่งยากซับ ซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์  อย่างไรก็ดี องค์กรในเมืองไทยดำเนินโครงการริเริ่มที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว นั่นคือ การปรับใช้แนวทางการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสและครบวงจร โดยเป็นโครงการที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจำแนกประเภท เก็บรักษา และค้นหาข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูล กำหนดนโยบายการเก็บรักษา และเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eDiscovery)  ทั้งนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในประเทศไทย กำลังพูดคุยเรื่องการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส หรือได้ดำเนินการทดลอง หรือโครงการที่แท้จริง

ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสในเมืองไทย ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย (77 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าค่อนข้างสำคัญหรือสำคัญอย่างมาก), ความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส (62 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาเรื่องกฎระเบียบ (56 เปอร์เซ็นต์), ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น (55 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาด้านกฎหมาย (46 เปอร์เซ็นต์) และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล (43 เปอร์เซ็นต์) องค์กรในเมืองไทยมีเป้าหมายหลายประการเกี่ยวกับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมถึงการปรับปรุงความปลอดภัย (74 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามีความสำคัญ), การตั้งค่าการปกป้องตามคุณประโยชน์ของข้อมูล (71 เปอร์เซ็นต์), ความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที (68 เปอร์เซ็นต์), ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการจัดเก็บข้อมูล (63 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และลดความเสี่ยงทางกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (60 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ). 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive