Friday, December 7, 2012

กสทช. เล็งแก้กติการับร้องเรียนมือถือ

กสทช. เล็งแก้กติการับร้องเรียนมือถือ
กทค. เล็งแก้กติกาหวังแก้ปัญหาอำนาจทับซ้อน ระบุไม่ทำงานล้ำเส้นคณะอนุคุ้มครองผู้บริโภค ชูเจตนาคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการใช้บริการ 3จี ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 56...นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนของ สำนักงาน กสทช. ยังมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และยังขาดประสิทธิภาพ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549 นั้น ออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ฉะนั้น ณ ขณะที่ออกประกาศฯ ทั้ง พ.ร.บ.และประกาศ กทช.ดังกล่าวจึงเป็นกลไก การทำงานระหว่างสำนักงานฯ กับคณะกรรมการ หรือ กทช. เท่านั้น ต่อมาเมื่อบัญญัติพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร. บ.กสทช. แม้กฎหมายนี้จะกำหนดให้ตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน แต่ขณะเดียวกันก็ให้อำนาจหน้าที่แก่สำนักงาน กสทช.  ในการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเสนอความเห็นต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด ส่งผลให้อำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ของสำนักงาน กสทช. ทับซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ โทรคมนาคม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมของสำนักงาน กสทช. กลับเน้นบทบาทเหมือนกับฝ่ายธุรการที่เน้นการทำงานรองรับภารกิจของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ทำให้การขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงาน กสทช. ในเรื่องดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด ทำให้ภารกิจด้านการรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมของสำนักงาน กสทช. ขาดประสิทธิภาพ ขาดการดำเนินการในเชิงรุก เป็นผลให้ กทค. ไม่สามารถพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตามที่พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม   พ.ศ. 2544  กำหนด  ทั้งนี้ เพราะสำนักงาน กสทช. เข้าใจว่าเรื่องร้องเรียนที่รับเข้ามาแล้วจะต้องเสนอผ่านคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ทั้งหมด ประกอบกับกรอบอำนาจหน้าที่ที่ กสทช. กำหนดไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมมีมากมายถึง 9 ประการ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ภารกิจหลักของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ส่วนการปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กสทช. กำหนดเป็นเพียงภารกิจรองนายสุทธิพล กล่าวอีกว่า หลายเดือนที่ผ่านมานั้นมีเรื่องร้องเรียนที่ผ่านการกลั่นกรองของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ที่เสนอมาให้ กทค. พิจารณาเป็นจำนวนน้อยมาก ทำให้มีเรื่องค้างพิจารณาและไม่ถูกส่งเข้ามายัง กทค. เป็นจำนวนมาก หากมีการให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นย่าน 2.1 GHz ก็หมายถึงว่าจะมีบริการโทรคมนาคมมากขึ้น เรื่องร้องเรียนย่อมมากขึ้นตามลำดับ  หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้ จะเกิดผลเสียหายทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยด่วน“เรื่องนี้จะไปโทษสำนักงาน กสทช. ก็ไม่ได้ เพราะอำนาจหน้าที่มันทับซ้อนกัน เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สำนักงาน กสทช. ก็เลยเข้าใจว่าต้องเสนอให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ กลั่นกรอง ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เรื่องยาก หรือเรื่องที่เร่งด่วน จะไปโทษคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯก็ไม่ได้ เพราะคำสั่งของ กสทช. ที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม แต่ไปให้อำนาจหน้าที่โดยเฉพาะในส่วนภารกิจรองเสียมากมาย ทำให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เกิดความสับสนไปปฏิบัติภารกิจในส่วนที่เป็นภารกิจรอง จนไม่มีเวลาปฏิบัติภารกิจหลัก” ประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ โทรคมนาคม กล่าวนายสุทธิพล กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงจำเป็นที่ต้องปรับปรุงกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ รวมทั้งต้องเร่งแก้ไขประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการพ.ศ. 2549 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในส่วนของกระบวนการ และขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับการพิจารณา และเสนอความเห็น เรื่องร้องเรียนระหว่างสำนักงาน กสทช. และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ให้เกิดความชัดเจน.   

No comments:

Post a Comment

Blog Archive