Sunday, January 13, 2013

โรคกุ้งตายด่วนระวังซ้ำรอยปี37

โรคกุ้งตายด่วนระวังซ้ำรอยปี37
                           แม้ล่าสุด ดร.วิมล จันทรโรทัย  อธิบดีกรมประมง จะชี้แจงถึงรายละเอียดถึงสถานการณ์การพบอาการคล้ายอีเอ็มเอส ( Early mortality syndrome : EMS )หรือ “โรคกุ้งตายด่วน” ในกุ้งขาวแวนนาไมว่า ไม่น่าจะกระทบต่อการผลิตกุ้งมากนัก ปริมาณกุ้งที่ผลิตได้ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค- ต.ค.55) พบว่าการผลิตกุ้งทั่วประเทศมีปริมาณ 397,276 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554  ซึ่งมีผลผลิต 413,319 ตัน ลดลง 16,043 ตัน คิดเป็นปริมาณกุ้งเพียง 3.9% หากสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกภาคส่วนเมื่อสิ้นสุดปีการผลิต 2555 ปริมาณการผลิตกุ้งลดลงจากปี 2554 เพียง 5-10% เท่านั้น                            สอดคล้องกับ  ดร.เจนจิตต์ คงกำเนิด ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง ที่ยืนยันว่า สถานการณ์โรคระบาดในกุ้งที่ภาคตะวันออกและบางพื้นที่ของภาคใต้นั้นยังไม่ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น เนื่องจากว่าในภาคตะวันออกนั้น มีเกษตรกรบางรายได้หยุดการเลี้ยงกุ้งชั่วคราว นอกจากนี้เกษตรกรเริ่มมีการร่วมตัวสร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ถือเป็นการป่วยกันเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้การระบาดเพิ่มขึ้น                            "ตอนนี้เราก็ยังไม่ชัดเจนว่า เป็นโรคอะไร แต่ดูอาการแล้วน่าจะสันนิษฐานว่า บางส่วนน่าจะเป็นโรคอีเอ็มเอส หรือโรคตายด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ระยองที่ระบาดมากที่สุด คือมีอาการตายวัยอันสมควร ซึ่งคล้ายกับโรคอีเอ็มเอส ที่ระบาดในต่างประเทศโดยเฉพาะเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งโรคนี้ในต่างประเทศที่ระบาดก่อนประเทศไทยก็ยังหาสาเหตุไม่ได้เช่นกัน ฉะนั้นเกษตรกรต้องระวัง" ดร.เจนจิตต์ กล่าว                            ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง แนะว่า ตามปกติในช่วงฤดูหนาวมักจะมีโรคระบาดในกุ้งอยู่แล้ว โดยเฉพาะโรคไวัรัสตัวแดงดวงขาว ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เกษตรกร จึงแนะนำว่าในช่วงฤดูหนาวนี้เกษตรกรควรถือโอกาสนี้มาพักบ่อเลี้ยงให้นานกว่าปกติ อย่างน้อย 1-2 เดือนแมาปรับปรุงบ่อให้สะอาด และฆ่าเชื่อที่ก้นบ่อ เพื่อเป็นวงวงจรของโรคได้บ้าง หลังจากนั้นค่อเลี้ยงกันใหม่ โดยให้เกษตรกรอย่างเลี้ยงกุ้งในแน่นเกินไป น้ำที่ใช้ต้องสะอาดและอย่าให้ค่าของเอสพีต่ำจนเกินไป หากเกษตรกรช่วยกันดูแลมั่นใจว่าในปี 2556 ปีนี้เราจะสามารถควบคุมโรคเหล่านี้ได้                            เช่นเดียวกันกับ  ดร.จิราพร เกษรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสัตว์น้ำ กรมประมง ระบุว่า มาถึงวันนี้โรคตายด่วนในกุ้งยังไม่ขยายพื้นที่การระบาดเพิ่มขึ้น แม้ว่าโรคนี้ยังไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้ว่าเกิดจากอะไรก็ตาม แต่กรมประมงได้มีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดโดยเน้นให้เกษตรกรควรมีการเตรียมบ่อที่ดี กำจัดสารอินทรีย์ก้นบ่อและตากบ่อให้แห้ง ฆ่าพาหะและเชื้อในบ่อ เช่น คลอรีนและไอโอดีน ควรมีบ่อพักน้ำ และฆ่าเชื้อในน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงกุ้ง คัดเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพดี แข็งแรงลงเลี้ยง โดยควรผ่านการตรวจสุขภาพทั่วไปและมีผลยืนยันว่าปลอดเชื้อที่เป็นอันตราย เกษตรกรไม่ปล่อยกุ้งลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป                            "ต้องยอมรับว่าตอนนี้การแก้ปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งนั้นเราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะเรายังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้เกิดจากอะไร แม้ฝรั่งเองที่มีการติดตามสถานการณ์ตายด่วนในต่างประเทศก็ไม่สามารถระบุสาเหตุได้เช่นกัน" ดร.จิราพร กล่าว                            อย่างไรก็ตาม จากการประเมินแล้ว แม้กรมประมงจะยืนยันว่าจะสามารถควบคุมได้ แต่เกษตรกรไม่ควรประมาท เนื่องเพราะการระบาดของโรคอีเอ็มเอสในต่างประเทศมาแล้วกว่า 3 ปี ยังหาสาเหตุของโรคยังไม่ได้ จึงไม่สามารถที่จะควบคุมตั้งแต่ต้นลม เพียงแต่ปัจจุบันการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น และที่สำคัญสถานการณ์ปัจจุบันโรคกุ้งตายด่วนก็ยังระบาดอยู่ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด และบางส่วนในพื้นที่ จ.ชุมพร สุราาษฎร์ธานี และสงขลา ทำให้เกษตรกรบางรายจึงยุติการเลี้ยงไปชั่วคราว                            จะเห็นได้จากที่ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ระยอง รสำรวจพื้นที่การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ จ.ระยอง เมื่อปลายปี 2555 พบว่าที่บ้านทะเลน้อย ต.ทางเกวียน อ.แกลง จ.ระยอง พบบ่อเลี้ยงกุ้ง หลายพันบ่อถูกปล่อยทิ้งร้าง บางบ่อไม่มีน้ำ มีแต่พื้นดินแห้งๆ ที่ก้นบ่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง เช่นท่อน้ำ เครื่องปั่น ต่างก็ถูกยกขึ้นมาพักไว้ ริมบ่อ                            ดร.ภิภพ นามสนิท ที่เลี้ยงกุ้งที่ 6 ต.ทางเกวียน อ.แกลง บอกว่า เลี้ยงกุ้งมาตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปีนี้นับได้ 26 ปี เริ่มจากเลี้ยงเพียงบ่อเดียวขยายเพิ่มจนถึง 20 บ่อ จนมีความรู้ความชำนาญ และรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งเป็นอย่างดี จึงไม่เคยพบว่า โรคระบาดในกุ้งชนิดไหน จะรุนแรงและทำลายกุ้งได้รวดเร็วเท่าโรคระบาดในครั้งนี้ เพราะใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง กุ้งตายยกบ่อ ทำให้วันนี้กลายเป็นบ่อร้าง                            ดังนั้นเกษตรกรต้องระวังอย่าให้การซ้ำรอยของโรคดวงขาว ในกุ้งกุลาดำเมื่อปี 2537 ที่เกษตรกรได้รับความเสียหายอย่างมหาศาล   --------------------- ที่มาและทางออกโรคอีเอ็มเอส                            สำหรับโรคอีเอ็มเอส หรือโรคกุ้งตายด่วนนั้น เริ่มระบาดเมื่อปี 2553 หรือปี 2010 มีรายงานว่า พบอาการของโรคกุ้งตายด่วนในจีนและเวียดนาม อีกปีถัดมาในปี 2554 มีรายงานว่าพบในประเทศมาเลเซีย และในปี 2555 พบกุ้งอาการคล้ายโรคตายด่วนในประเทศไทย ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกได้แก่ จ.จันทบุรี และระยอง โดยโรคนี้มีอาการคือพบการตายของกุ้งจำนวนมากในระยะแรกของรอบการเลี้ยงช่วง 30 วันหลังจากปล่อยกุ้งลงบ่อ บางพื้นที่ตายสูงถึง 100% โดยตรวจไม่พบเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง ทอร่า ไอเอ็มเอ็น หรือเชื้ออื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อตับและตับอ่อนที่มีการตายของเซลล์ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้                            ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เซลล์ตับและตับอ่อนเสื่อมสภาพและตายเป็นจำนวนมาก แต่จากการศึกษาของนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศคาดการณ์ว่า อาจเกิดจากเชื้อโรคชนิดใหม่ สารพิษจากอาหารหรือสารเคมี หรือจุลินทรีย์บางชนิด รวมทั้งการจัดการบ่อเลี้ยงกุ้งที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการนี้ ซึ่งในปี 2556 ทางกรมจัดงบเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคกุ้งทะเล ให้แก่หน่วยงานในสังกัด รวมทั้งจัดสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาสาซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมประมง และกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่อีกด้วย                            ทางออกเกษตรกรต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การเตรียมบ่อ การคัดเลือกลูกกุ้ง และการจัดการระหว่างการเลี้ยง  สิ่งที่เกษตรกรต้องให้ความสำคัญในระดับสูงสุดเพื่อลดความเสี่ยงของดโรคจุดขาวคือ การป้องกันโรคด้วยระบบไบโอซีเคียวอย่างเคร่งครัด เนื่องจากช่องทางที่เชื้อก่อโรคจะเข้าสู่บ่อเลี้ยงทั้งจากทางน้ำ ทางบก  และทางอากาศ โดยช่องทางที่เชื้อแพร่กระจายและป้องกันได้ยากนั่นเอง   --------------------- (อย่าประมาท 'โรคกุ้งตายด่วน' ระวังซ้ำรอยโรคกุ้งกุลาฯปี37 : ดลมนัส  กาเจ ... รายงาน)      

No comments:

Post a Comment

Blog Archive