Saturday, January 26, 2013

กสทช.เตือนภัยคนยุค 3G ใน คิดก่อนคลิก Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว

กสทช.เตือนภัยคนยุค 3G ใน คิดก่อนคลิก Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว
กสทช.จัดงาน คิดก่อนคลิก Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว นิทรรศการเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ มุ่งเตือนภัยคนรุ่นใหม่ยุค 3G ให้ตื่นตัวเน้นสร้างการรับรู้ถึงมหันตภัยบนโลกไซเบอร์จากมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในรูปแบบต่างๆ...พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวว่า ในฐานะที่ กสทช. มีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ สร้างความเป็นส่วนตัวและส่งเสริมความเสมอภาคในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการต่างๆ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ภาคประชาชน จึงได้จัดงานนิทรรศการความรู้ คิดก่อนคลิก Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว เพื่อให้คนรุ่นใหม่ยุค 3G โดย เฉพาะผู้ที่ใช้มือถือสมาร์ทโฟนได้ตระหนักและรู้เท่าทันมหันตภัยบนโลกออนไลน์ ที่จะแฝงมาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงรู้จักวิธีป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งนี้ งานนี้จะเป็นนิทรรศการเสมือนจริงที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ แต่นำมาปรับและประยุกต์ให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมีสาระประโยชน์ที่ควรรู้มากมาย ทั้งวิธีที่มิจฉาชีพมักใช้โจรกรรมข้อมูล โปรแกรมและแอพพลิเคชั่นที่ควรระวัง วิธีการป้องกันตัวตนบนโลกออนไลน์ รวมถึงตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมตั้งรับกับภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว โดยงานจะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้-วันที่ 27 ม.ค. ณ ลานชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินัล 21 พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวถึงวิธีป้องกันภัยเบื้องต้นว่า อย่างน้อยควรจะต้องตั้งรหัสผ่านให้กับโทรศัพท์มือถือ เพราะสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้สูงถึง 70-80% ไม่ควรเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆ ในมือถือ ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิด ที่อยู่บ้าน ที่ทำงานบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และควรปิดสัญญาณ WI FI, สัญญาณ บลูทูธ และฟังก์ชั่นบอกตำแหน่งในมือถือในเวลาที่ไม่ใช้งาน ที่สำคัญควรติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยด้วย รวมถึงอัพเดตโปรแกรมบนมือถือให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอสำหรับกิจกรรมต่างๆ เป็นออกเป็น 5 โซน ได้แก่ 1. โซน Phishing กรอกปุ๊ป รับปั๊บ : บอกถึงวิธีป้องกันตัวจากการเป็นเหยื่อตกปลาออนไลน์ 2. โซน Identity Theft แฝดนรก : บอกถึงวิธีป้องกันตนเองไม่ให้ผู้ไม่หวังดีสวมรอยเป็นตัวเรา 3. โซน Social Media แซทแล้วโดน…เอาไปเลย : บอกถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำบนสังคมออนไลน์ 4. โซน Mobile Malware ชีวิตติดมือถือ : รู้จักมัลแวร์ โปรแกรมตัวร้ายในสมาร์ทโฟน และแนวทางที่ควรปฏิบัติ และ 5. โซน Check Point วางใจหรือใจหาย : บททดสอบความเสี่ยงของตัวคุณ รวมถึงวิธีแนะนำสำหรับนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของทางรัฐบาล ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ให้ข้อมูลว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เป็นอย่างมาก และในอนาคตการให้บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ทำให้สามารถติดต่อกับหน่วยงานรัฐได้สะดวกสบายมากขึ้น การใช้ข้อมูลของภาครัฐเหล่านี้ต้องมีความมั่นใจว่า ผู้ให้บริการระบบสามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเกิดความเป็นส่วนตัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลชั้นสูงได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น และต้องมีความมั่นคงปลอดภัยในชั้นสูงสุดส่วนของแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รัฐบาลก็ให้ความสำคัญมากเช่นกัน ซึ่งมีรายละเอียดมากพอสมควร โดยแบ่งเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านการเริ่มต้นที่ให้ระบบมีความเชื่อ มั่นได้ หรือมีความมั่นคงปลอดภัยขั้นสูง และถึงแม้ว่าระบบจะมีความมั่นคง ปลอดภัยแล้ว แต่หากพบผู้ที่ชอบเจาะข้อมูล ก็จะมีมาตรการในการติดตามผู้ที่เข้ามาก่อความเสียหาย โดยมีหน่วย ThaiCERT (Thai Computer Emergency Response Team) ที่จะเข้ามาประสานงาน วิเคราะห์รูปแบบของมหันตภัย รวมถึงวิธีป้องกันภัย เพื่อจะได้เข้าไปแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีด้านนักร้องสาว กุญแจซอล-ป่านทอง บุญทอง AF6 เผยในช่วง Cybersecurity Share ว่า ซอลก็เคยประสบกับตนเองในเคสที่มีผู้ไม่หวังดีบนโลกออนไลน์ที่แฝงตัวมาในรูปแบบต่างๆ มีทั้งแบบทำตัวสนิทสนมบอกว่าเป็นเพื่อนเก่าและเข้ามาปะปนบนอยู่ในสังคมเฟซบุ๊กของเรา และพูดโน้มน้าวเพื่อให้เราโอนเงินให้ หรือบ้างก็เจออีเมล์แปลกๆ ในลักษณะที่บอกว่าเป็นผู้โชคดีได้รางวัล และให้กดไปที่ Link นี้ เพื่อยืนยันการรับของรางวัล เป็นต้น ซึ่งซอลมองว่าคนที่มีชื่อเสียง รวมถึงคนในแวดวงบันเทิงน่าจะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์จะสามารถเข้าถึงความเป็นส่วนตัวได้ง่ายและรู้ถึงความเคลื่อนไหวของเราจากข่าวสาร ซึ่งการรณรงค์ให้ทุกคนได้ตระหนักรู้และเข้าใจถึงมหันตภัยไร้สายในรูปแบบต่างๆ รวมถึงแนะวิธีป้องกันภัยจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ. 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive