Tuesday, April 13, 2010

ไวแมกซ์ทางหลวงข้อมูลชนบท

ไวแมกซ์ทางหลวงข้อมูลชนบท





คมชัดลึก :เมื่อก่อนหมู่บ้านไหนมีถนนลาดยางตัดผ่านวิ่งสองเลนก็ถือว่าใกล้ความเจริญมากขึ้น







แค่ถนนลาดยางมะตอยหรือต่อให้ราดคอนกรีตก็ไม่พอแล้วตอนนี้ เพราะถนนที่เชื่อมโยงชาวชนบทเข้ากับเครือข่ายโลกคือ ทางด่วนข้อมูล หรือภาษาอังกฤษท่านว่า Infomation Superhighway นั่นแล
ขวากหนามของการเชื่อมต่อโลกออนไลน์และอินเทอร์เน็ตของคนต่างจังหวัด นอกจากการเชื่อมต่อผานสายโมเด็มที่อืดถืดไม่ทันกินกับยุค "ไฮสปีด" แล้ว ปัญหาใหญ่คือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไม่มีคู่สายลากไปให้ถึงชานเรือน ทางออกเดียวคือเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งยังแพงมากและช้ามาก
ไวแมกซ์(WiMax: Worldwide onteroperability for Microwave Access) จึงเป็นคำตอบที่งดูเข้าเค้ามากที่สุดสำหรับคนต่างจังหวัด เพราะมันเป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง มีรัศมีการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 กิโลเมตร
ดร.พันศักดิ์ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นำเทคโนโลยีไวแมกซ์ ไปชิมลางที่แม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอกที่กำลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮอตของไทย
เทคโนโลยีไร้สายไวแม็กซ์ให้ความเร็วเชื่อมต่อ10-20 เมกะบิต ที่ผ่านมา คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติเริ่มทดลองระบบที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และจ.มหาสารคาม ส่วนโครงการของเนคเทคเองที่แม่ฮ่องสอนกำหนดพื้นที่การติดตั้งระบบไว้ 3 อำเภอได้แก่ อ.เมือง อ.ปาย และ อ.แม่สะเรียง
โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายไวแมกซ์เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเนคเทคกับไจก้า หรือองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้ศึกษาวิจัยในระยะเวลา 3 ปี
วัตถุประสงค์เพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีไวแมกซ์หาวิธีการแก้ไขปัญหาในด้านข้อจำกัดต่างๆ ในการติดตั้งระบบเครือข่าย อาทิ ค่าใช้จ่ายสูง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา สัตว์ป่ากัดแทะสายส่งสัญญาณ ที่สำคัญคือ เพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตเข้าสู่โรงเรียน พัฒนาระบบหรือโปรแกรมช่วยเหลือการทำงานของหน่วยงานรัฐในด้านการสื่อสาร และแนะนำการท่องเที่ยวของชุมชน อีกทั้งประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีทักษะและความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
เนคเทคเปิดระบบส่งสัญญาณแล้วเฉพาะพื้นที่อ.เมืองแม่ฮ่องสอนโดยได้ติดตั้งเสาส่งสัญญาณไว้บนดอยกองมู รัศมี 5 กิโลเมตร ช่วงแรกจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายได้ประมาณ 4-7 เมกะบิต ซึ่งหากเป็นคนในพื้นที่อ.เมือง และมีอุปกรณ์รับสัญญาณไวแมกซ์ ก็สามารถทดลองใช้งานได้ทันที
"ข้อดีของไวแมกซ์นั้นคือ สัญญาณที่ทะลุทะลวงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ติดตั้งให้เปลืองงบมากขึ้น ทั้งพื้นที่ของแม่ฮ่องสอนเป็นรูปทรงยาวแค่ติดตั้งสถานีฐานสำหรับส่งสัญญาณที่มีรัศมีครอบคลุม 5 กิโลเมตรจำนวน 3 สถานีใน 3 อำเภอ พร้อมสถานีลูก 45 สถานีที่โรงเรียน โรงพยาบาล อบต. และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ก็ครอบคลุมทั้งแม่ฮ่องสอนแล้ว" ดร.พันศักดิ์กล่าว
โดยเปรียบเทียบกันแล้วผอ.เนคเทคมองว่า เทคโนโลยี 3 จี เหมาะกับการใช้งานของคนเมือง เป็นวิถีแบบเมืองที่เน้นสีสรร สนุกสนานกับโลกออนไลน์ ส่วนไวแมกซ์เหมาะกับพื้นที่ชนบท หากจะนำไปใช้ในเมืองซึ่งรัศมีผู้ใช้งานหนาแน่นอาจจะไม่สมบูรณ์นัก และเหมาะที่จะนำไปใช้เพื่อการเรียนการสอน (อีเลิร์นนิ่ง) หรือการนำไอทีไปประยุกต์ใช้เพิ่มขีดความสามารถของคนในท้องถิ่น
โครงการไวแมกซ์ในเมืองสามหมอกนั้นเนคเทคเตรียมที่จะทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเกิดผู้ให้บริการเครือข่ายท้องถิ่น(โลคัล โอเปอเรชั่น) ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเฉพาะชุมชนไม่เกิน 500 หลังคาเรือนผ่านไวแมกซ์ รายงานนี้จะส่งไปยังกทช. พิจารณาต่อไป
หากไวแมกซ์กับเมืองชนบทอย่างแม่ฮ่องสอนใช้งานได้ด้วยดีเพิ่มขีดความสามารถด้านไอที และต่อยอดไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตคนในท้องถิ่น โอกาสขับเคลื่อนให้เกิดผู้ให้บริการเครือข่ายท้องถิ่นกระจายไปยังพื้นที่ชนบททั่วประเทศก็มีมากขึ้น
 สาลินีย์ทับพิลา
 








ข่าวที่เกี่ยวข้อง"ไวแมกซ์"แก้คนไข้ล้นรพ.ประหยัดเวลา-ค่าเดินทาง

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive