Sunday, November 4, 2012

ผู้ชายเหงาๆ ตะลุยเอเวอเรตต์ ทัวร์เมืองเครื่องบิน "โบอิ้ง"

ผู้ชายเหงาๆ ตะลุยเอเวอเรตต์ ทัวร์เมืองเครื่องบิน "โบอิ้ง"
Pic_303232 ครั้งนี้ผู้ชายเหงาๆ บินข้ามทวีปไปถึงโรงงานของโบอิ้ง ที่เอเวอเรตต์ เมืองซีแอทเติล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเยี่ยมชมโรงงานประกอบเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตเครื่องบินของสหรัฐฯ อีกด้วย...



สวัสดี ครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมผู้ชายเหงาๆ กลับมาอีกครั้งคราวนี้มีประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นมานำเสนอกันอีกแล้ว ครั้งก่อนผมพาทุกท่านไปรับเครื่องบินโดยสารของสายการบินไทยสมายกันที่โรงงาน ของแอร์บัส เมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี กันมาแล้ว ดังนั้นครั้งนี้ผมได้รับเชิญจากการบินไทยไปรับมอบเครื่องบินโดยสารที่จัด เป็นม้างานอีกหนึ่งแบบของการบินไทยนั่นคือ โบอิ้ง 777-300ER โดยคราวนี้เราบินข้ามทวีปไปรับเครื่องถึงโรงงานของโบอิ้ง ที่เอเวอเรตต์ เมืองซีแอทเติล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ตอนเหนือทางฝั่งตะวันตก เกือบจะติดประเทศแคนาดาแล้ว


ที่ โรงงานเอเวอเรตต์แห่งนี้ ถือเป็นโรงงานหลักที่ใช้ผลิตเครื่องบินโดยสารชั้นนำของโบอิ้ง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบินโบอิ้ง 707, 727,737,747,757,767, 777 และ 787 ดรีมไลเนอร์ส โดยปัจจบันโบอิ้งยังคงเปิดสายการผลิตเครื่องบินโดยสารอยู่หลายรุ่น ได้แก่ โบอิ้ง 747-8 และ 747-8F เครื่องจัมโบ้เจ็ตสุดยอดตำนานที่ครองสถิติความยาว และ บินได้ไกลที่สุดในโลก โบอิ้ง 767-400ER และ 767-300F ที่เป็นเครื่องสำหรับใช้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ (Air Tanker) และเครื่องขนส่งสินค้า (Air cargo) โบอิ้ง 777-300ER และ 777F เครื่องบินโดยสารพิสัยไกลลำตัวกว้างที่ทันสมัย รวมทั้งแบบที่ใช้คนส่งสินค้า และ เครื่องบินโบอิ้ง 787-8 หรือ ดรีมไลเนอร์ส เครื่องบินโดยสารที่ไฮเทคและทันสมัยที่สุดในเวลานี้   

โรง งานเอเวอเรตต์ ถือเป็นอาคารที่ก่อสร้างโดยมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนพื้นที่ขนาด 13,385,378  ตร.ม. หรือ ประมาณ 98.3 เอเคอร์ โดยขนาดของอาคารสามารถบรรจุสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ได้สบายๆ โรงงานแห่งนี้อยู่ทางตอนเหนือห่างจากเมืองซีแอทเติลไป 25 ไมล์ เริ่มก่อสร้างเป็นโรงงานในปี 1966 เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 747 หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากับสายการบินแพนแอม มูลค่า 525 ล้านเหรียญในการสร้าง 747 จำนวน 25 เครื่อง โรงงานแห่งนี้ยังมีร้านอาหาร และร้านกาแฟ ในทุกๆ ไลน์การผลิต และการเดินทางไปมาในโรงงานต้องใช้จักรยาน หรือ รถ 3 ล้อ เพราะขนาดที่กว้างใหญ่ของโรงงานนั่นเอง และยังมีการเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถข้าชมโรงงานได้ แต่ไม่อนุญาตให้บันทึกภาพ แต่คราวนี้ไทยรัฐออนไลน์ ได้รับเกียรติเป็นกรณีพิเศษจึงสามารถเก็บภาพบรรยากาศมาให้ชมกัน

สำหรับ สายการผลิตแรกที่เราเข้ามาชม คือ สายการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 747-8 โดยเครื่องบินที่ตั้งอยู่ในสายการผลิตรอเราไปดู คือ 747-8F ของสายการบิน NCA โดยอยู่ในขั้นตอนการประกอบฐานล้อ และการเดินสายไฟ และอุปกรณ์ต่างๆ งานนี้ได้เห็น APU ที่ติดตั้งท้ายเครื่องแบบเต็มตา รวมถึงเครื่องยนต์ GE-NEX 4 เครื่องที่รอติดตั้งด้วย

นอก จากนี้ยังได้เห็นขั้นตอนการประกอบโครงลำตัว และชิ้นส่วนปีกที่ลำเลียงผ่านเครนยักษ์ มาประกอบจนเป็นรูปรางเครื่องบิน วงล้อยักษ์ สำหรับพลิกเครื่องบินเพื่อช่างได้ยิงหมุดยึดชิ้นส่วนได้สะดวก เคลื่อนไปเป็นสถานีๆ จนกระทั่งเสร็จออกมาเป็นเครื่องบินที่พร้อมลากออกไปทดสอบเครื่องยนต์ และทำสี

ต่อ มาก็เป็นสายการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่มีกระบวนการและขั้นตอนไม่ต่างจาก 747 มากนัก เพียงแต่เครื่องรุ่นนี้เป็นไฮไลต์ที่เราได้เดินเข้าไปดูแบบใกล้ชิด ที่โรงงานเอเวอเรตต์ ถือเป็นสายการผลิตหลักของเครื่องโบอิ้ง 777 ที่ปัจจุบันผลิตออกมาแล้วกว่า 1,000 ลำ โดยในสายการผลิตนี้เราได้เห็รตั้งแต่การติดตั้งสายไฟ ท่อต่างๆ ไปจนถึงห้องน้ำ ฐานล้อ และเครื่องยนต์ 1 สายการผลิตสามารถประกอบเครื่องบินได้ 7 ลำพร้อมๆ กันแต่ละลำใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการประกอบชิ้นส่วน

หลัง จากนั้นเราได้ขึ้นไปดูโรงงานในชั้นบนที่เป็นจุดชมวิว ในส่วนนี้เองที่เราได้เห็นสายการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ ที่ออกจากสายการผลิตไปแล้ว 29 ลำ และยังมีอยู่ระหว่างการผลิต และรอรับมอบอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ ของสายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กาตาร์แอร์เวย์ส เอธิโอเปียแอร์ไลน์ ไห่หนานแอร์ไลน์ สายการบินไชน่าเซาเทิร์น เป็นต้น นอกจากนี้โบอิ้งยังมีสายการผลิต 787 อีกแห่งที่รัฐเซาท์ แคโรไลนา โดยส่งชิ้นส่วนดรีมไลเนอร์ส ไปกับเครื่องบินขนส่ง โบอิ้ง 747 ดรีมลิฟท์เตอร์

No comments:

Post a Comment

Blog Archive