Thursday, November 22, 2012

ธอมัสไอเดีย แนะใช้กลยุทธ์ดิจิตอล-อีสโตร์สู้คู่แข่งต่างชาติ

ธอมัสไอเดีย แนะใช้กลยุทธ์ดิจิตอล-อีสโตร์สู้คู่แข่งต่างชาติ
ธอมัสไอเดีย แนะปี 55 ถึงเวลาดิจิตอลคอมเมิร์ซ จบการขายบนหน้าร้านออนไลน์และมือถือ แนะนักการตลาดและเอสเอ็มอีไทยเตรียมกลยุทธ์ครบทุกดิจิตอลแพลตฟอร์มรับมือคู่แข่งข้ามชาติก่อนเปิด AEC เผย งบการตลาดออนไลน์คิดเป็น 5-10% ของงบการตลาดรวม คาดกระทบมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์ 3% ของมูลค่าสื่อโดยรวม… น.ส.อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด เผยว่า จากตัวเลขมูลค่าการส่งออกไทยในปีที่ผ่นมาสูงถึง 6 ล้านล้านบาท เป็นยอดขายออนไลน์ประมาณ 75,000 ล้านบาท ขณะที่งบการตลาดออนไลน์คิดเป็น 5-10% ของงบการตลาดรวม คาดกระทบมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์ 3% ของมูลค่าสื่อโดยรวมจะเห็นได้ว่าตลาดออนไลน์กำลังปรับตัวไปสู่การค้าออนไลน์มากขึ้น สาเหตุที่ปีหน้า 2013 จะเป็นปีที่การแข่งขันดิจิตอลมาร์เกตติ้ง จะข้ามขั้นสู่ยุคดิจิตอลคอมเมิร์ซที่สร้างรายได้ตอบโจทย์นักการตลาดมากขึ้นว่า เป้าหมายสูงสุดของผู้ประกอบการและนักการตลาด คือ การสร้างรายได้และจำนวนลูกค้าที่ภักดีในแบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ปรากฏการณ์ Digital Disruption เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของสินค้าและบริการ เราได้เห็นตัวอย่างของแบรนด์และสินค้าระดับโลกหลายรายที่ต้องปิดตัวเพราะ ก้าวไม่ทันกระแสดิจิตอล รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและภาครัฐที่ต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันเช่นกัน ซีอีโอ ธอมัสไอเดีย กล่าวต่อว่า เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) องค์กรในประเทศไทยต้องเริ่มใช้กลยุทธ์ดิจิตอลเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจไปยังประเทศใกล้เคียง โดยต้องเตรียมความพร้อมของพนักงาน คู่ค้าตลอดจนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางดิจิตอล  การเตรียมความพร้อมด้านดิจิตอลเริ่มต้นจากความเข้าใจและการกำหนดแผนกลยุทธ์ ทางด้านดิจิตอลอย่างชัดเจน ที่อาจประกอบด้วยสามขั้นตอน ได้แก่1.      Local Takeoff เป็นขั้นตอนสำคัญที่องค์กรต้องเริ่มดำเนินงานผ่านทางดิจิตอล โดยมองจากกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคเป็นหลัก โดยต้องเริ่มศึกษาและกำหนดกลยุทธ์ดิจิตอลที่เหมาะสมกับองค์กร การใช้ดิจิตอลแบรนด์ดิ้งเพื่อขยายภาพลักษณ์ขององค์กรและแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดเตรียมทีมงานอีบิสสิเนส เพื่อดำเนินงานด้านการค้าผ่านออนไลน์ รวมถึงการสื่อสารการตลาด และเปิดช่องทางการใช้ดิจิตอลคอมเมิร์ซ2.      Regional Reach เป็นการขยายผลของกลยุทธ์ดิจิตอลในประเทศออกสู่ประเทศเป้าหมายในภูมิภาค3.      Regional Integration เป็นการอินทริเกรทเอาผลการดำเนินงานในแต่ละประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ และการสื่อสารการตลาด น.ส.อุไรพร กล่าวอีกว่า เพื่อเตรียมพร้อมกับสิ่งเหล่านี้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเปิด AEC  ผู้ประกอบการไทยจึงเตรียมความพร้อมทั้งงานปฏิบัติการ และระบบหลังบ้าน ทั้งการวางระบบอีคอมเมิร์ซ การสร้างหน้าร้านออนไลน์ หรือ e-Store ที่ส่วนมากยังไปไม่ถึงขึ้นปิดการขาย การศึกษากฎหมายของแต่ละประเทศ และระบบภาษี ของประเทศนั้นๆ เพื่อเตรียมขยายตลาดออกนอกประเทศ เตียมพร้อมเรื่องการจัดส่ง การติดตามสินค้า การชำระเงิน รวมทั้งทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องการเวลาในการจัดการมาก ดังนั้น มีเว็บไซต์อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีช่องทางบนสมาร์ทโฟนด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นเชื่อมโยงกับหน้าร้าน ออนไลน์ และ โซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ เพราะประเทศไทยมีคนใช้สมาร์ทโฟนกว่า 10.4 ล้านคน การใช้มือถือเป็นช่องทางโฆษณาสินค้าจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นหากต้องการเข้าถึงลูกค้าซีอีโอ ธอมัสไอเดีย กล่าวว่า หากมองในแง่ของนักการตลาด จากเดิมที่เราสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา อาทิ มีคนมากดไลค์ในแฟนเพจบนเฟซบุ๊กมาก หรือ มีคนติดตามบนทวิตเตอร์มาก อาจจะไม่เพียงพอแล้วในวันพรุ่งนี้ หลายๆ องค์กรเริ่มตระหนักและลงทุนกับการสร้างธุรกิจในรูปแบบของดิจิตอลคอมเมิร์ซ และพร้อมใช้งานทันทีเมื่อระบบเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กรพร้อม เพราะนวัตกรรมออนไลน์นี้จะกลายเป็นสำนักงานขายที่สำคัญในการซื้อขายไม่น้อย ไปกว่าช่องทางออฟไลน์เลย และมีคู่แข่งที่พร้อมจะเข้ามาชิงตลาดและลูกค้าของเราไปได้โดยง่ายด้วย ดังนั้นนักบริหารและผู้ประกอบการของไทยทั้งหลาย จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตลาดที่ต้องพึ่งดิจิตอลคอมเมิร์ซเป็นสำคัญ“ข้อแนะนำสำหรับนักการตลาด อำนาจและอิสระของผู้บริโภคในการเลือกผ่านช่องทางดิจิตอลมีมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารและช็อปปิ้งข้ามโลกเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที ทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้แบรนด์ของตัวเองมีสินค้า และบริการที่ต้องการด้วย ถ้าแบรนด์หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ตอบสนองไม่ทัน ก็อาจสูญเสียลูกค้าได้โดยง่าย ดังนั้น จำเป็นมากที่องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายในการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ ดิจิตอลมากขึ้น พัฒนาศักยภาพของทีมวางแผนและทีมปฏิบัติการ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับส่วนงาน ขาย ขนส่ง บริการ ฯลฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ โดยมีดิจิตอลคอมเมิร์ซช่วยขับเคลื่อนยอดขายจากผู้ซื้อที่มีอยู่ทั่วโลก” น.ส.อุไรพร กล่าว. 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive