Sunday, May 23, 2010

ยืมมือไอซีที-กทช.ช่วยศึกโรมมิ่งทีโอที-เอไอเอส

ยืมมือไอซีที-กทช.ช่วยศึกโรมมิ่งทีโอที-เอไอเอส

ทีโอที เผยปัญหาโรมมิ่งกับเอไอเอส ต้องให้ รมว.ไอซีที กับกทช.ช่วยฟันธง ถึงจะยุติลงได้ แต่ต้องไม่กระทบกับ 5 บริษัทเอกชนที่ร่วมเอ็มวีเอ็นโอด้วย...แหล่งข่าวจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่ ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้เสนอแนะให้ ทีโอที ไปเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน ตามสัญญาเอไอเอส ต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ทีโอที และสัญญาเหลืออีกเพียง 6 ปีเท่านั้น ดังนั้น ทั้งเอไอเอส และทีโอที ควรจะเจรจากันในการใช้สถานีฐานของเอไอเอส ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง เพื่อนำมาติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ 3จี โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ นอกจากจะทำให้ทีโอทีประหยัดเงินลงทุนแล้ว ยังสามารถขยายโครงข่าย 3จี ได้ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ ยังใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า อีกทั้ง เอไอเอสก็สามารถมาใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) กับทีโอทีต่อไปแหล่งข่าว กล่าวต่อว่า แม้ว่า ทีโอที กับ เอไอเอส จะตกลงเปิดให้บริการ โรมมิ่ง 3จี ร่วมกัน ในรูปแบบของการร่วมใช้โครงข่ายการให้บริการขายส่งบริการ หรือ เอ็มวีเอ็นโอ (MVNO) ร่วมกัน ก็จะส่งผลกระทบกับการทำตลาดของบริษัทเอกชนที่ให้บริการในรูปแบบ MVNO ทั้ง 5 ราย ได้แก่ บริษัท สามารถไอ-ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ไออีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ IEC และบริษัท เอ็ม คอนซัลท์ เอเชีย จำกัด ที่อยู่ระหว่างเริ่มให้บริการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนลูกค้าในปัจจุบัน“ทีโอที มีความต้องการที่จะร่วมมือกับ เอไอเอส ในการโรมมิ่ง แต่ทีโอที ก็ต้องคำนึงถึง MVNO ทั้ง 5 รายด้วยเช่นกัน และยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปได้ เนื่องจาก ทีโอที รอเวลาให้ 5 บริษัท ได้มีลูกค้ามากพอที่จะกระตุ้นตลาด 3 จี ได้ โดยปัญหาการโรมมิ่งกับเอไอเอส จะยุติลงได้ไม่ใช่เพียงแค่ เอไอเอส กับ ทีโอที จะเจรจากันเท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการยืนยันและเห็นชอบของกระทรวงไอซีที และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช ด้วย” แหล่งข่าวทีโอที กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีโอทีได้ปรับลดต้นทุนค่าอุปกรณ์ และปรับวิธีการทำงานจากการลงทุนสถานีฐาน เป็นการเช่าสถานีฐานจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และเอกชน ในสัดส่วน 55% ของจำนวนสถานีฐานทั้งหมด 5,220 สถานี โดยส่วนนี้ช่วยลดเงินลงทุนได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท รวมทั้งตัดงบสนับสนุนการดำเนินโครงการอีกจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อปรับลดงบประมาณการลงทุน 3จี ทั่วประเทศให้เหลือ 1.9 หมื่นล้านบาท ตามนำแนะนำของรมว.ไอซีที


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive