Tuesday, May 25, 2010

เผยโฉม คาร์ทอล์ก รถคุยกับรถ งานวิจัยจากเนคเนค

เผยโฉม คาร์ทอล์ก รถคุยกับรถ งานวิจัยจากเนคเนค

เนคเทค ปิ๊งโครงการคาร์ทอล์ก วิจัยโฉมใหม่ใช้งบกว่า 9 ล้าน เปลี่ยนจากคนคุยกัน มาเป็นรถคุยกัน เน้นความปลอดภัยบนพื้นจราจร ประเดิมเฟสแรก 1 ปี ก่อนสานต่อให้ส่งข้อมูลระหว่างรถได้ถูกต้องแม่นยำ...  เมื่อเร็วๆ นี้ นายภาสกร ประถมบุตร ผู้อำนวยการโปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค แถลงถึงโครงการคาร์ทอล์ก (Car Talk) เป็นงานวิจัยของเนคเทค เกิดจากแนวคิดในแถบยุโรป ที่เป็นเปลี่ยนจากคนมาเป็นรถที่เป็นฝ่ายคุยกัน เช่น รถคันหน้าเตือนคันหลังว่ากำลังเบรคกระทันหัน หรือเสาสัญญาณข้างทางส่งข้อมูลมาที่รถว่ากำลังเข้าเขตชุมชน ให้ลดความเร็วลง โดยได้รับงบประมาณ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ เอไอที มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมกว่า 9 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีกรอบระยะเวลาดำเนินงานเฟสแรก 1 ปี เริ่มตั้งแต่ เดือน ต.ค. 2552 ที่ผ่านมา และจะพัฒนาให้การส่งข้อมูลระหว่างรถถูกต้องแม่นยำขึ้น ผอ.โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ เนคเทค กล่าวว่า ความยากของการสื่อสารของรถบนถนนอยู่ที่การเคลื่อนที่ของรถที่เปลี่ยนตำแหน่งไปมา ปัญหาการรบกวนของคลื่นและการสอดแทรกเมื่อเจอตึกสูง ปัญหาความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพื่อตอบสนอง (ไม่เกิน 10 ms) และอีกหลายๆปัญหา เนคเทคจึงริเริ่มงานวิจัย Car-Talk โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในการกระจายข้อมูลโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายระหว่างรถยนต์ (Vehicle to Vehicle, V2V) และเครือข่ายระหว่างรถยนต์กับโครงสร้างพื้นฐาน (Vehicle To Infrastructure, V2I) เพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการเดินทางโดยเน้นที่สภาพถนน และการขับขี่ของคนไทย ขณะเดียวกันก็อ้างอิงโปรโตคอลตามมาตรฐานสากลอย่างไรก็ตาม วิจัยชิ้นนี้คงยังไม่ก้าวถึงขั้นที่ให้รถเบรค หรือขับเองได้ ข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างรถนี้จะสื่อไปยังคนขับให้ระมัดระวัง หรือบอกข้อมูลการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ยังมีการเตือนลดความเร็วกรณีเข้าเขตโรงเรียน การเก็บค่าผ่านทางเมื่อรถวิ่งผ่านพิกัดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การส่งข้อมูลเรลไทม์ เช่น ราคาน้ำมันเมื่อผ่านปั้มน้ำมัน สถานที่จอดรถที่ว่างเมื่อเข้าไปยังลานจอดรถ และข้อมูลจราจร เป็นต้นผอ.โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ เนคเทค กล่าวด้วยว่า โครงการลักษณะเดียวกันนี้ ดำเนินการมานานแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา มีโครงการที่ชื่อว่า IntelliDrive หรือ ในชื่อเดิมว่า Vehicle Infrastructure Integration (VII) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยเครือข่าย V2V และ V2I ในการสื่อสารเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ในยุโรปมีโครงการที่ชื่อว่า CVIS (Cooperative Vehicle-Infrastructure Systems) เป็นโครงการลักษณะเดียวกับของอเมริกา โดยกำหนดมาตราฐานของระบบตาม ISO TC204 โดยเริ่มดำเนินการในปี 2549-2553 ในญี่ปุ่นมีโครงการชื่อ SmartWay โดยภาครัฐ เริ่มจัดทำในปี 2006เป็นโครงการที่อาศัยเทคโนโลยี V2V และ V2I เพื่อช่วยเตือนภัยผู้ขับขี่ เช่น ระบบป้องกันการชนท้าย ระบบป้องกันการชนจากรถที่วิ่งตัดหน้า ระบบป้องกันการชนที่เกิดจากการเลี้ยว ระบบกระจายข้อมูลของรถฉุกเฉิน สำหรับประเทศไทย ยังต้องการก้าวให้ทันเทคโนโลยีนี้ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบให้เข้ากับวิถีการใช้รถใช้ถนนต่อไป.


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive