Sunday, February 10, 2013

กสทช.ยึด ม.37 เข้ม! คุ้มครองผู้บริโภคยุคทีวีดิจิตอล

กสทช.ยึด ม.37 เข้ม! คุ้มครองผู้บริโภคยุคทีวีดิจิตอล
“สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. ปรับงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่ยุคทีวีดิจิตอล รับสื่อมีอิสระมากกว่ายุคอะนาล็อก ยึด ม.37 คาดการเมืองลดแทรกแซง วอนผู้ประกอบการดูแลเนื้อหาก่อนออกอากาศ...นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การกำกับผู้บริโภคในยุคทีวีดิจิตอลนั้น กฎระเบียบต่างๆ อาจปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันยุคทันสมัยบ้าง แต่บางข้อยังยึดแนวทางเดิม ทั้งนี้ ต้องรอให้การออกอากาศในระบบดิจิตอลดำเนินการ พร้อมกับออกกฎระเบียบต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการเปลี่ยนเป็นระบบทีวีดิจิตอลนั้น คาดว่าการแทรกแซงทางการเมืองน่าจะลดลง และสื่อก็จะมีเสรีภาพและอิสระมากขึ้น เพราะฉะนั้น สื่อจะต้องกำกับตัวเองให้มากขึ้น สืบเนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของละคร หรือออกอากาศรายการทีวี ในเมื่อทีวีดิจิตอลจะมีช่องเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ฝากถึงผู้ประกอบการด้วยว่าควรใส่ใจและให้การกำกับดูแลเนื้อหาที่จะออกอากาศด้วย“ยุคทีวีดิจอตอล กฎระเบียบต่างๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภค ยังคงยึดมาตรา 37 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เป็นหลัก แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงข้อระเบียบต่างๆ ให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อให้ทันยุคทีวีดิจิตอล ที่จะมีช่องรายการเพิ่มมากขึ้น และอาจจะทำให้การกำกับดูแลยากขึ้นด้วย เนื่องจากสื่อจะมีอิสระและเสรีภาพมากกว่าตอนที่เป็นทีวีอะนาล็อก” กรรมการ กสทช. กล่าวนางสาวสุภิญญา กล่าวต่อว่า กฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิตอล จะสามารถเห็นได้ภายในปีนี้แน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จำเป็นจะต้องดูผู้ประกอบการรายการในระบบทีวีดิจิตอลด้วย ว่าจะไปในทิศทางใด แต่คาดว่ากฎระเบียบจะออกไปควบคู่กับการออกอากาศทีวีดิจิตอล แต่ยังไงก็ยังคงต้องยึดหลักกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนแน่นอนพ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธาน กสท. กล่าวว่า คุณภาพรายการเป็นเรื่องของการกำกับดูแล เกิดจากระบบใบอนุญาต เช่นเดียวกับระบบอะนาล็อก ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าเมื่อช่องทีวีเพิ่มขึ้น การกำกับดูแลก็น่าที่จะมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเพิ่มขึ้น ขณะที่ กสทช.ก็มีโครงข่ายผู้บริโภคคอยรับเรื่องร้องเรียน และมีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลอยู่แล้ว หรือถ้าประชาชนเห็นว่าไม่เหมาะสม ก็สามารถส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ 1200   

No comments:

Post a Comment

Blog Archive