Wednesday, February 27, 2013

ดีแทคเฟ้นนักพัฒนาแอพฯ หัวกะทิ กรุยทางสู่ซิลิกอนแวลลีย์

ดีแทคเฟ้นนักพัฒนาแอพฯ หัวกะทิ กรุยทางสู่ซิลิกอนแวลลีย์
ดีแทค ปั้นโครงการ dtac Accelerate หวังพลิกทางลัดดันนักพัฒนาแอพฯ เลือดไทยสู่ซิลิกอนแวลลีย์ ศูนย์กลางนวัตกรรมโลก ประเดิมกิจกรรมประกวดโมบายแอพฯ หนุนเสนอผลงานกับบรรดานักลงทุน...นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีที่สุด ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจสู่โมบายคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่น เพื่อสร้าง application ecosystem ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านการส่งเสริมการตลาดกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นในประเทศไทย เพื่อนำแอพพลิเคชั่นดีๆ สู่ผู้ใช้บริการ โดยตอนนี้ ทางดีแทคได้ผู้บริหารหน้าใหม่ กระทิง-เรืองโรจน์ พูลผล มาร่วมงานเพื่อดูแลฝ่ายผลิตภัณฑ์ และ application ecosystemนายเรืองโรจน์ พูนผล ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ดีแทค กล่าวว่า บริษัทเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย เราจึงริเริ่มโครงการ dtac Accelerate เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยลุกขึ้นมาสร้างนวัตกรรม แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยร่วมปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เพิ่มพื้นที่เรียนรู้และแสดงศักยภาพให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการที่เคยผ่านประสบการณ์ทำงานที่ ซิลิกอนแวลลีย์มาก่อน ผมเชื่อว่าที่นั่นคือศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ เป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรด้านเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วโลกมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ที่ที่ใครๆ สามารถประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ และวันนี้ ดีแทคได้นำโอกาสนั้นมาสู่คนไทยที่มีความสามารถ มีความกล้าที่จะคิด ทำในสิ่งที่แตกต่าง และเป็นไปได้ โครงการนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นเส้นทางลัดนำทีมนักพัฒนาไทยไปสู่ซิลิคอน ซิลิกอนแวลลีย์เพื่อมุ่งมั่นสร้างฝันให้เป็นจริงบนเวทีการแข่งขันระดับโลกทั้งนี้ ซิลิกอนแวลลีย์ คือศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมไฮเทคระดับโลก ได้รับการขนานนามว่าเป็นเสมือนดินแดนมหัศจรรย์ ที่ซึ่งความคิด ความฝัน เทคโนโลยี และธุรกิจมาสอดประสานกันและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับโลกได้เสมอ ตั้งอยู่ที่เมืองซาน ฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งกำเนิดของบริษัทชั้นนำที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก อาทิ กูเกิ้ล ยูทูป แอปเปิ้ล เอชพี ซิสโก้ อินสตาแกรม ฯลฯสำหรับประสบการณ์ของเรืองโรจน์ที่ซิลิกอนแวลลีย์มีทั้งการทำงานและการร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท โดยทำงานที่บริษัทกูเกิ้ล และเป็นหนึ่งในทีมผู้พัฒนากูเกิ้ลเอิร์ธ  โปรแกรมแสดงแผนที่ เส้นทาง และภาพภูมิทัศน์จากทั่วโลก และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Technology Startup สามารถระดมเงินทุน 1.1 ล้านดอลลาร์จาก Angel Investor และเริ่มต้นตั้งบริษัทของตัวเองที่นั่น  โดยเรืองโรจน์จะนำเอาประสบการณ์ทำงานที่นั่นกว่า 7 ปี มากลั่นกรองและถ่ายทอดสู่ทีมนักพัฒนาที่เข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate ภายในระยะเวลาไม่ถึงปีอย่างไรก็ตาม กิจกรรมแรกของโครงการ dtac Accelerate คือการจัดประกวดผลงานโมบายแอพพลิเคชั่น ภายใต้ธีม Wizard of App เพื่อหาทีมสุดยอดนักพัฒนาแอพไปสัมผัสบรรยากาศการทำงานแบบองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลกที่ซิลิกอนแวลลีย์ศูนย์กลางธุรกิจไฮเทคของโลก และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแคมเปญนี้คือ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ซึ่งจะนำเอาประสบการณ์ในการทำงานที่ซิลิคอน แวลลีย์มาบอกเล่าเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับบริษัทต่างๆ ที่นั่นเพื่อนำทีมนักพัฒนาไทยไปเรียนรู้การทำงานแบบนักพัฒนานวัตกรรมระดับโลก โดยโครงการ dtac accelerate ได้พันธมิตรระดับโลกมาสนับสนุนโครงการ อาทิ Blackbox Connect ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกทีมนักพัฒนาแอพที่ชนะเลิศในโครงการ dtac Accelerate จะได้เดินทางไปซิลิกอนแวลลีย์เพื่อเข้าร่วมโครงการ Blackbox Accelerate เป็น 1 ใน 12 ทีมจากทั่วโลก และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานกับกลุ่มนักลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมากมายและภาวะการแข่งขันอันรุนแรง และนอกจากนี้ทีมรองชนะเลิศจะได้รับโอกาสร่วม Accelerator program ในระดับภูมิภาค ซึ่งโครงการ dtac Accelerate นี้มีของรางวัลมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 50 ล้านบาทการจัดประกวดการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ในโครงการ dtac Accelerate เปิดรับสมัครผู้แข่งขันเป็นทีมจำนวนไม่เกิน 5 คน ผู้สมัครจะต้องส่งข้อเสนอโครงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ภายในวันที่ 30 เมษายน 2556 จากนั้นคณะกรรมการประกวดจะคัดเลือกให้เหลือ 30 โครงการและประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในเดือนพฤษภาคม จะมีการจัดโค้ชชิ่งเวิร์คช็อปโดยทีมนักพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลกให้กับทีมที่ได้รับการคัดเลือกระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2556 จากนั้นจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้าย 10 โครงการเพื่อทำการพัฒนาจริง และตัดสินหาทีมผู้ชนะเลิศในเดือนกันยายน 2556. 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive