Saturday, February 23, 2013

ซีเกทร่วมหนุนเด็กไทย จัดแข่งขันหุ่นยนต์บินใน ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน

ซีเกทร่วมหนุนเด็กไทย จัดแข่งขันหุ่นยนต์บินใน ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน
ซีเกท จับมือสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กองทัพอากาศ และ มจพ.พระนครเหนือ จัดการแข่งขันหุ่นยนต์บินอัตโนมัติเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในหัวข้อ “ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน” หนุนการวิจัยพัฒนาด้านอากาศยานไร้คนขับ...ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา นักการศึกษาได้ใช้หุ่นยนต์ เพื่อดึงดูดความสนใจของเยาวชนไทยในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมา อย่างต่อเนื่อง บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กองทัพอากาศ และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์บินอัตโนมัติเพื่อเข้าแข่งขัน ภายใต้หัวข้อ “ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน”  ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยดร.ภูดิส  ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขัน โครงการภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน และเลขานุการสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า การแข่งขันหุ่นยนต์บินอัตโนมัติเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้เรียนรู้จาก การปฏิบัติจริงเพื่อให้พวกเขาศึกษาและค้นคว้าข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเกี่ยวกับ การพัฒนาเครื่องบินและอากาศยานอัตโนมัติ การแข่งขันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมนิสิต นักศึกษาไทย เพื่อก้าวเข้าสู่วิศวกรรมอากาศยานขั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ ทางคณะผู้จัดการแข่งขันยังต้องการสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาเหล่านี้พัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์บินไร้คนขับ เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่อากาศยานไร้คนขับต่อไปประธานจัดการแข่งขันฯ กล่าวต่อว่า การแข่งขันท้าทายบรรดานิสิต นักศึกษาไทย ในการสร้างหุ่นยนต์บินไร้คนขับ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันภายในระยะเวลา 8 นาที โดยบริษัทซีเกทฯ ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน มอบเงินรางวัลรวม 500,000 บาท ให้แก่ทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ขณะที่กองทัพอากาศมอบรางวัลสุดพิเศษ คือ ถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมกับนำทีมที่ได้รับรางวัลเยี่ยมศึกษาดูงาน เครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ณ ฐานบินของกองทัพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อต่อยอดความคิดต่อไปนายภูดิส กล่าวถึงรูปแบบการแข่งขันว่า ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องพัฒนาหุ่นยนต์จำนวน 2 ประเภท คือ หุ่นยนต์บินอัตโนมัติ จำนวน 1 ตัวและหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือ จำนวน 1 ตัว โดยหุ่นยนต์บินอัตโนมัติจะเข้าแข่งขันในสนามเปิดโล่ง ภายนอกอาคาร ส่วนหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือจะเข้าแข่งขันในสนามแข่งขันภายในอาคาร หุ่นยนต์บินอัตโนมัติจะต้องบรรทุกลูกกอล์ฟ จำนวน 1 ลูกก่อนออกจากจุดเริ่มต้น และต้องนำลูกกอล์ฟไปปล่อยในบริเวณที่กำหนดและบินไปยังจุดลงจอดที่กำหนด สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือ  ผู้บังคับหุ่นยนต์บินแบบบังคับด้วยมือจะต้องควบคุมหุ่นยนต์อยู่ในห้องควบคุม (Manual Control Room) โดยจะทำการควบคุมระยะไกล ซึ่งผู้ควบคุมสามารถมองเห็นสนามได้จากทางจอควบคุมของทีมเท่านั้น และบังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ  เมื่อหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือเข้าถึงเส้นชัย จะต้องทำการเจาะลูกโป่งให้แตก โดยใช้เข็มเจาะเท่านั้น เพื่อหยุดเวลาการแข่งขันของทีมตนเอง ดังนั้นการแข่งขันครั้งนี้จึงเป็นการทดสอบความสามารถของผู้เข้าแข่งขัน ในการสร้างหุ่นยนต์ซึ่งสามารถบินได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้ระบบการนำร่องแบบดาวเทียม หรือ เทคโนโลยีแมชชีน วิชั่น (machine vision)ด้าน ดร.ถวิดา มณีวรรณ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ กล่าวว่า เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ด้าน วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและวิศวกรรมอากาศยาน การแข่งขันในหัวข้อ “ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน” เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์อีกหนึ่งรายการซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีโอกาสแสดงผลงานการพัฒนาล่าสุดในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ ทางสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแข่งขันหุ่น ยนต์บินไร้คนบังคับจะช่วยตอกย้ำความสำคัญของเทคโนโลยีอันนำมาซึ่งการพัฒนา ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตขณะที่ พล.อ.อ.ชนัท รัตนอุบล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ท่าน ผบ.ทอ.ได้ฝากขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้สนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์บินชิงแชมป์ประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นการเผนแพร่วิทยาการด้านอากาศพลศาสตร์ วิศวกรรมอากาศยาน และวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ไปสู่นักเรียน นิสิต และนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกรักการบิน อันเป็นสิ่งสำคัญทำให้เยาวชนไทยมีความสามารถและใส่ใจเทคโนโลยีการบิน เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาค เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพผช.ผบ.ทอ.กล่าวต่อว่า  ทาง ทอ.ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการบิน โดยดำเนินการพัฒนาการสร้างอากาศยานต้นแบบจนประสบความสำเร็จ ทำให้ ทอ.ไทยสามารถพึ่งพาตัวเองในการสร้างอากาศยาน ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้ออากาศยานจากต่างประเทศ ในอนาคตหากมีการผลักดันการสร้างอากาศยานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ก็จะส่งเสริมให้ไทยเป็นฮับด้านการบินของอาเซียนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ทอ.ไทยยังดำเนินโครงการสร้างอากาศยานไร้นักบิน หรือ UAV ที่เป็นเทคโนโลยีขึ้นสูง ที่ในอนาคตจะสามารถสร้าง UAV เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยได้เช่นกัน เชื่อว่าการแข่งขันของน้องๆ จะสามารถต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีการบินขั้นสูง รวมทั้งการพัมนา UAV ที่ทาง ทอ.ไทย กำลังวิจัยและพัฒนาในขณะนี้ด้วย ส่วน นายเจฟฟรี่  ไนการ์ด รองประธานและผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการประเทศไทยและปีนัง บริษัทซีเกท เทคโนโลยี  (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งขันเป้าหมายสูงสุดของเรา คือ การส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์  นักเทคโนโลยี นักพัฒนาหุ่นยนต์และวิศวกรรุ่นใหม่ ให้มีมาตรฐานในการดำเนินงานที่สูงขึ้น  ดังนั้น เราจึงเน้นหนักในการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและมีมุม มองที่จะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตั้งแต่พวกเขายังเป็นนิสิต นักศึกษาจนถึงการประกอบอาชีพทั้งนี้หุ่นยนต์ทุกตัวจะต้องถูกออกแบบและสร้างขึ้นตามกฎและกติกาทางด้านความปลอดภัยของ การแข่งขัน  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขันทางออนไลน์ได้ที่ http://www.tamech.com ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive