Friday, February 22, 2013

ไอดีซีชี้ 4 ปัจจัยหลักขับเคลื่อนไอซีทีไทยปี 2556

ไอดีซีชี้ 4 ปัจจัยหลักขับเคลื่อนไอซีทีไทยปี 2556
ไอดีซี เชื่อ แรงขับเคลื่อนหลักทั้ง 4 ประการ ได้แก่ คลาวด์  โมบิลิตี้ โซเชียล บิซิเบส และ บิ๊กดาด้า จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและการใช้งานทางด้านไอซีทีของประเทศไทยในปีนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และการที่แนวคิดโมบิลิตี้รวมกับ กระแสคอนซูเมอร์ไรเซชั่น...นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษาประจำประเทศไทย (IDC Asia/Pacifics Research Manager for Cross products & Consulting) เปิดเผยว่า ในปี 2556 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่อุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศยังคงถูกท้าทายจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะมาจากแรงขับเคลื่อนหลักด้านโมบิลิตี้ทั้งจากผู้บริโภคและกลุ่มองค์กร รูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ส่งผลต่อการใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งการแข่งขันการให้บริการโทรคมนาคมภายใต้การสื่อสารแบบ 3G ที่จะเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยด้วยกันทั้งสิ้น” ตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีแสดงให้เห็นว่าตลาดไอซีทีของไทย (นับรวมทั้งไอที และโทรคมนาคม) น่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 9.8% โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556 ไอดีซีได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาวิจัยล่าสุด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการระดมสมองของนักวิเคราะห์ทั้งที่ประจำประเทศไทยและประจำภูมิภาค มาจัดทำเป็นงานวิจัยเรื่องการคาดการณ์ถึงแนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทย ดังต่อไปนี้การใช้จ่ายด้านไอซีทีของประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งแม้ว่าจะถูกท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ การใช้จ่ายและการลงทุนด้านไอซีที ในปี 2556 จะได้รับแรงหนุนจากตลาดในกลุ่มองค์กร (Enterprise market) เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และได้รับอานิสงส์จากกลุ่มผู้บริโภค (Consumer market) เช่นกัน โดย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงใช้จ่ายด้านไอซีทีอย่างต่อเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และกลุ่มงานภาครัฐฯ จะได้เห็นจากการลงทุนด้านโซลูชั่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ ยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในปีนี้ อย่างไรก็ตามกลุ่มองค์กรเองยังต้องเผชิญกับการรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ ใช้ ได้แก่ บิ๊กดาต้า และอานาไลติก (Big data and analytic) หรือเทคโนโลยีคลาวด์ ขณะที่ภาครัฐฯเองก็มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านระบบสารสนเทศที่จะติดต่อกับโครงการ Government Cloud (G-cloud) และ Government Information Network (GIN) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนสมาร์ทไทยแลนด์ (Smart Thailand) นอกจากนี้การเติบโตด้านไอซีทีในปีนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนด้านโครงข่าย 3G และโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ไอดีซีคาดการณ์ว่ามูลตลาดรวมไอซีทีทั้งหมดของไทยจะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 9.8% ไปสู่ระดับ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉพาะด้านไอทีจะอยู่ที่ประมาณ 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้บริการข้อมูลไร้สายยังเป็นดาวเด่นของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไอดีซีคาดการณ์มูลค่าตลาดการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี 2556 ว่าบริการด้านข้อมูลไร้สายยังคงมีการเติบโตที่สดใส เนื่องมาจากการให้บริการข้อมูล ผ่านโครงข่ายไร้สาย (Wireless network) จากผู้ให้บริการหลักที่มีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบริการข้อมูลผ่านโครงข่าย 3G อย่างเต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ไอดีซีคาดว่าการเติบโตในปีนี้จะสูงกว่า 14% โดยมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ การเติบโตของอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทดีไวซ์ ยังถือเป็นแรงกระตุ้นหลักให้ปริมาณความต้องการใช้ข้อมูลผ่านโครงข่ายไร้สายให้สูงขึ้นอีกด้วยรูปแบบใหม่ของการให้บริการไอทีแบบครบวงจรจากกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า บริการด้านไอที (IT Services) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่มีการใช้จ่ายเป็นอันดับที่ 2 รองจากการใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ด้านการเครือข่าย (IT hardware and networking system) และสามารถใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหลักในการประเมินความเป็นมืออาชีพรวมถึงความสามารถในการให้บริการจากฝั่งผู้ประกอบการ ด้านการให้บริการติดตั้งระบบแบบครบวงจร (IT Services Provider and System Integrator) รูปแบบการให้บริการในปีนี้จะเปลี่ยนจากกลุ่มงานบริการที่ผูกติดกับอุปกรณ์ มาสู่รูปแบบการนำเสนอบริการที่เน้นคุณค่าของกระบวนการทางธุรกิจ และตอบโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น โดยลดความสำคัญของการให้บริการแบบบำรุงรักษาระบบทั่วไปลงเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้น การสร้างมูลค่าในการให้บริการใหม่ๆ ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อทั้งผู้ให้บริการเองในแง่ของการสร้างมูลค่าเพิ่มในการให้บริการ ตัวอย่างโมเดลของรูปแบบการให้บริการแบบใหม่นั้นรวมถึง Outsourcing 3.0 การดำเนินกลยุทธ์การให้บริการบริหารจัดการอุปกรณ์ที่มาจากผู้ผลิตและสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่ต่างกัน (Multi-vendors management service) หรือแม้กระทั่งการนำเสนอบริการดูแลระบบแบบเหมารวมทั้งอุปกรณ์โดยที่ลูกค้าองค์กรสามารถเรียกใช้บริการได้ตามความจำเป็น เป็นต้น ในปี 2556 นี้ ไอดีซีคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดบริการด้านไอทีในประเทศไทยจะเติบโตได้ถึง 14.2% และมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สิ้นสุดยุคแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งของพีซีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเดสก์ท็อป และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพกหรือแล็ปท็อป เคยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลที่มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน แต่ในทุกวันนี้จะต้องหลีกทางให้กับอุปกรณ์พกพาที่เกิดใหม่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ไอดีซีเชื่อว่า ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ตลาดพีซีในประเทศไทยจะขยายตัวอย่างยากลำบาก โดยการเติบโตของตลาดพีซีตั้งแต่ปี 2556 นั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งเหมืนในปีที่ผ่านมา และอาจจะถึงการเติบโตแบบติดลบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพีซีต้องปรับตัวใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานตลาดเดิมของตนไว้ ไอดีซีคาดการณ์ตลาดพีซีของประเทศไทยในปี 2556 จะขยายตัวน้อยกว่า 4% โดยมียอดจัดส่งเพียงแค่ 4 ล้านเครื่องเท่านั้นMobile OS:  ตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะกลายเป็นสมรภูมิรบใหม่ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้ทำให้ตลาดของดีไวซ์เหล่านี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไอดีซีคาดการณ์ว่าด้วยแรงซื้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความพร้อมของการให้บริการ 3G จะทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้สูงถึง 40% ด้วยยอดจัดส่งทั้งหมด 7.3 ล้านเครื่อง ส่วนตลาดแท็บเล็ตเองก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งหมายถึงยอดจัดส่งทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 3.5 ล้านเครื่องในปีนี้ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มาพร้อมกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ในหมู่ผู้ผลิตและผู้จำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกระบบปฏิบัติการมากกว่าจะมองที่ความสามารถของฮาร์ดแวร์เพียงประการเดียว ในปี 2556 ไอดีซีเชื่อว่าระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) และแอนดรอยด์ (Android) จะต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค ส่วนระบบปฏิบัติการที่เกิดใหม่อย่าง วินโดวส์โฟน 8 (Windows Phone 8) และแบล็กเบอร์รี 10 (Blackberry 10) จำเป็นจะต้องทุ่มสุดตัว เพื่อหาพื้นที่ในตลาดเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยแต่ละระบบปฏิบัติการก็ต้องประสบกับความท้าทายที่แตกต่างกัน ไอโอเอสจำเป็นต้องปกป้องฐานผู้บริโภคเดิม ในขณะที่แอนดรอยด์และวินโดวส์ จำเป็นต้องรุกเพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดจากไอโอเอส มากขึ้น ส่วนแบล็กเบอร์รีต้องพยายามกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งเพื่อเป็นทางเลือกที่ 3 รองจากระบปฏิบัติการยอดนิยมอย่างไอโอเอสและแอนดรอยด์ ไอดีซีเชื่อว่า การแข่งขันที่สูงขึ้นนี้  จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ในแง่ของความหลายหลายของสินค้าและราคาที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการเพิ่มความร่วมมือกับผู้จำหน่ายในประเทศเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ความนิยมของสมาร์ทดีไวซ์ (Smartdevices) เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งานดิจิตอลคอนเทนต์กระแสความนิยมของสมาร์ทดีไวซ์ หรือ อุปกรณ์อัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพาแบบแท็บเล็ต ได้ส่งผลต่อการใช้งานสื่อดิจิตอลคอนเทนต์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์แอพพลิเคชั่นทางด้านธุรกิจ ด้านสันทนาการ ไปจนถึงคอนเทนต์แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล จากผลการศึกษา Consumerscape 360 ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีในปลายปี 2555 ที่ผ่านมาพบว่า ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกว่า 55% นิยมดาวน์โหลดคอนเทนต์แอพพลิเคชั่นประเภทเกมมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ แอพพลิเคชั่นประเภทโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเพลง เป็นอันดับที่สองและสาม ในขณะที่คอนเทนต์แอพพลิเคชั่นด้านการเดินทาง และการถ่ายรูปได้รับความนิยมน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความนิยมของผู้ใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยที่พบว่า ส่วนใหญ่นิยมใช้งานคอนเทนต์แอพพลิเคชั่นประเภทโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นลำดับต้น ๆ ซึ่งความนิยมนี้ได้ส่งผลต่อการเติบโตของปริมาณการใช้ข้อมูลจากผู้บริโภคและองค์กร Consumerization to personal ecosystem: สภาพแวดล้อมส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทดีไวซ์ ปี 2555 ที่ผ่านมา กระแสการใช้งานอุปกรณ์ประมวลผลส่วนบุคคลโดยเฉพาะสมาร์ทดีไวซ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานในองค์กรนั้น ถือว่าได้รับความนิยมอย่างสูง หลายองค์กรเองได้กำหนดนโยบายการนำอุปกรณ์ส่วนตัวเหล่านี้มาติดต่อกับระบบไอทีขององค์กรได้อย่างดีเยี่ยม และมีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานที่ยืดหยุ่นและทันต่อการสนองตอบทางธุรกิจมากขึ้น ในปี 2556 นี้ แนวคิดการประยุกต์การใช้งานในลักษณะ Consumerization มิได้ลดลงเลย แต่กลับกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานส่วนบุคคลหรือผู้บริโภค (consumer / personal user) ได้ใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อการจัดการภาระงานและกิจกรรมส่วนบุคคลอันหลากหลาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 1 เครื่องสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์จดบันทึก อุปกรณ์สื่อสารทั้งข้อมูลและเสียง ฟังเพลง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งาน หรือการเข้าถึงข้อมูลมัลติมีเดียในชีวิตประจำวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองยังได้มองหาอุปกรณ์เสริมตัวที่สองหรือพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตนเองเพื่ออำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนการทำงาน หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์แต่ละประเภทเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้สภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้จากเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้ อาทิ การฝากข้อมูลหรือการหาพื้นที่ออนไลน์ในการเก็บหรือสำรองข้อมูล (Online –virtual storage) ส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ สมาร์ทดีไวซ์ประเภทต่าง ๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ หรือแม้กระทั่งการหาพื้นที่เสมือนในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานในกลุ่มเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดได้แก่ การสร้างเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ กับระบบคลาวน์ เพื่อประโยชน์ในการสำรองและถ่ายเทข้อมูล หรือการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเล่นมัลติมีเดียโดยผ่านช่องทางบลูทูธเพื่อเก็บเป็นโปรไฟล์ส่วนบุคคล พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามปรกติในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในปี 2556 การเติบโตของคลาวด์ในประเทศยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องควบคู่กับความท้าทายหลายประการ แม้ว่าสถานการณ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงบริการคลาวด์ภายในประเทศยังคงเป็นไปค่อนข้างช้าเนื่องมาจากความกังวล 2 ประการได้แก่ ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน และความปลอดภัยของข้อมูล จะเป็นปัจจัยหลักในการเลี่ยงจากกการใช้งานคลาวด์เต็มรูปแบบ ไอดีซียังคงเชื่อว่า การให้บริการคลาวด์ยังคงเกิดขึ้นในประเทศต่อไป โดยรูปแบบจะเป็นการให้บริการในลักษณะ Public Cloud มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา นอกจากนี้โครงการการลงทุนระบบคลาวด์ภาครัฐฯ หรือ Government Cloud ที่จะนำมาเป็นส่วนเทคโนโลยีหลักในการให้บริการภาครัฐฯ เอง ก็เป็นแรงผลักดันอีกประการหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีประเภทนี้ ส่วนรูปแบบการใช้งานของคลาวน์ในประเทศในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ Application-as-a-Service (AaaS) ได้แก่ แอพพลิเคชั่นด้าน Collaboration และ Productivities เป็นหลัก การตอบรับจากกลุ่มองค์กรต่อความต้องการโซลูชั่นที่ผนวกโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที กระแสของ Converged solution นั้นเริ่มมีให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นในอุตสาหกรรมไอที  และผู้ใช้งานระดับองค์กรได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการปรับให้ converged solution เหล่านี้ ผู้ให้บริการระบบจึงมีความพยายามที่จะนำเสนอ consolidated solution เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรด้านไอที โดยโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีนั้นกำลังก้าวไปไกลกว่าเพียงแค่ระบบเน็ตเวิร์กเพียงอย่างเดียว บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์เน็ตเวิร์กและซอฟต์แวร์เองต่างก็พยายามนำเสนอโซลูชั่นแบบหนึ่งเดียวที่ได้รวมเอาโซลูชั่นปลีกย่อยตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงแอพพลิเคชั่นซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งานระดับองค์กร  ด้วยระดับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าองค์กรในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนจากสถานการณ์ที่ไม่คาดดิค ได้กดดันให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ต้องนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถทำงานประสานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการอันหลากหลายขององค์กรต่างๆ ไอดีซีคาดการณ์ว่า ตลาดระบบโครงสร้างพื้นฐานจะขยายตัวได้ประมาณ 11% ในปี 2556 โดยมีจุดเด่นที่สำคัญคือการผนวกระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไปเป็นหนึ่งโซลูชั่นที่จะนำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กร ระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data and Analytics) ยังคงสร้างกระแสในอุตสาหกรรมไอทีบิ๊กดาต้าได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านไอทีในช่วงที่ผ่านมา และได้กลายเป็นหัวข้อสามัญที่เหล่าองค์กรต่างๆ ต้องหยิบยกขึ้นมาอภิปรายอยู่เสมอๆ ผู้ผลิตสินค้าและบริการด้านไอทีเองก็มีส่วนในการสร้างความตระหนักถึงการมาถึง และการใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า อนึ่ง ความต้องการที่จะใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง และซับซ้อน เริ่มเกิดขึ้นในองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดกลางได้เริ่มพิจารณาถึงประเด็นนี้ด้วยเช่นกันระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและซับซ้อน จะกลายเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลเพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ได้สูงสุดกระบวนการคอนซูเมอร์ไรเซชันของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ประกอบกับการที่องค์กรต่างๆ ได้อนุญาตให้พนักงานเข้าถึงแอพพลิเคชั่นผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ได้ทำให้ไอดีซีเชื่อว่า ตลาด Information Management Analytics จะสามารถเติบโตได้ถึง 12% ในปี 2556.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive