Thursday, March 18, 2010

ซิป้าขอ2ปี โกยเม็ดเงินอุตฯ ซอฟต์แวร์แสนล.

ซิป้าขอ2ปี โกยเม็ดเงินอุตฯ ซอฟต์แวร์แสนล.

ซิป้าจัดสัมมนาวิชาการให้กลุ่มอุตสาหกรรม 6 ภาคธุรกิจ ขณะที่มีเดิมมีอยู่ 6 หมื่นล. ด้านเอทีซีไอ ชี้อุตฯ ซอฟต์แวร์เติบโตต้องลงทุนคนเพิ่ม พร้อมเร่งผลิตบุคลากรป้อนตลาดต่อเนื่อง... นายวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ขณะนี้ ซิป้ากำลังดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเริ่มจากเยาวชน พร้อมทั้ง ยอมรับว่าบุคลากรที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมไอทีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เยาวชนที่เก่ง และเยาวชนที่ติดเกม เพราะมีความสามารถ และรักด้านซอฟต์แวร์ รวมถึงเปิดเวทีให้ได้แสดงความสามารถ“อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปี 2551 มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางตลาดเพื่อสร้างรายได้ โดยตั้งเป้ามูลค่าซอฟต์แวร์เพิ่ม 1 แสนล้านบาท ภายใน 2 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2553-2554” รักษาการผอ.ซิป้า กล่าวนายวุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า ซิป้าจึงจัดสัมมนางานวิชาการไอซีที ภายใต้ชื่อ ไอซีที อินดรัสทรี ซัมมิท 2009 ให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรม 6 ภาคธุรกิจขึ้น โดยที่ผ่านมา ดำเนินการไปแล้ว 5 ธุรกิจ ได้แก่ ท่องเที่ยว อาหารและอาหารแปรรูป ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ค้าปลีก และโลจิสติกส์ สร้างความเข้มแข็งให้ไอที และกลุ่มสุดท้าย คือ การแพทย์และสาธารณสุขรักษาการผอ.ซิป้า กล่าวอีกว่า มูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ปี 2551 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.5 พันล้านบาท โดยคาดการณ์ว่า ปี 2552 จะเติบโตขึ้น 10% ขณะเดียวกัน ที่ต้องเร่งเจรจากับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เรื่องสิทธิประโยชน์ และการยกเว้นภาษีด้วยนายราเมศวร์ ศิลปพรหม กรรมการ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือเอทีซีไอ กล่าวว่า จากการสำรวจผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว พบว่า ผู้ประกอบการกว่า 1 พันราย ต้องการให้ซิป้าสนับสนุน โดยฝึกอบรมการใช้งาน เช่น ด้านการตลาด บริหารลูกค้าสัมพันธ์ และการดำเนินงานทางธุรกิจ เป็นต้น“การที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เติบโต ต้องเริ่มจากการผลิตบุคลากรด้านดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากนักเรียนระดับชั้นมัธยม มหาวิทยาลัย โดยสร้างรายได้จากความสามารถของแต่ละคน” กก.เอทีซีไอ กล่าวนายราเมศวร์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มในการนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน อยู่ระดับปานกลาง ถึงมากขึ้น โดยเน้น การทำงาน 1.มาช่วยการทำงาน 2.ทำแทนคน เพราะไม่ต้องการใช้คน 3.วางแผนและควบคุม 4.วิเคราะห์ลูกค้า 5.แทนการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างรับยอดสั่งซื้อได้โดยไม่ต้องผ่านคน ทั้งนี้ จากงานสัมมนาดังกล่าว จะสร้างความเข้มแข็งให้ไอที หรือคิดเป็นมูลค่าการขายจากการเจรจาประมาณ 200 ล้านบาท อีกทั้ง เชื่อมั่นว่าจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเอสเอ็มอีที่แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive