Saturday, March 20, 2010

ถนนสายนี้..ปรู๊ดปร๊าด

ถนนสายนี้..ปรู๊ดปร๊าด



คมชัดลึก : หงุดหงิดใจทุกครั้งที่ต้องจอดแช่อยู่บนทางด่วน ยิ่งหงุดหงิดมากไปอีกเมื่อวิทยุจราจรรายงานว่า เส้นทางข้างล่างโล่ง รถเคลื่อนตัวได้ดี สถานการณ์เช่นนี้บ่อยครั้งที่ผู้ขับขี่ย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ค่าทางด่วน 45 บาทที่จ่ายไปแล้วนั้นคุ้มหรือไม่ และรู้ว่าออกมาแล้วรถติดแบบนี้ หยุดอยู่บ้านดีกว่า







หน่วยงานที่ดูแลการจราจรบนท้องถนน รวมถึงหน่วนงานวิจัยวิชาการ ตระหนักปัญหานี้ดีและพยายามหาทางแก้ไข เพื่อให้รถบนถนนลื่นไหลสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งป้ายจราจรอัจฉริยะ บอกสถานะการจราจรบนถนนโดยรอบผ่านสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีฟ้า หมายถึงรถติดมาก-น้อย ตามลำดับ ช่วยผู้ขับขี่ตัดสินใจการเดินทางได้
 ระบบสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ สามารถเปลี่ยนสัญญาณไฟอัตโนมัติให้สอดคล้องกับจำนวนรถในแต่ละฝั่ง ลดจำนวนรถสะสมตามสี่แยก ล่าสุดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วางแผนที่จะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับจำนวนรถบนถนนสาทร กรุงเทพฯ
 ตัวเลขข้อมูลที่นับได้จะทำให้ทราบว่าถนนสาทรรองรับจำนวนรถได้กี่คัน ความเร็วของรถและประเภทรถบนถนน หรือช่วงเช้าเย็นที่กลายสภาพเป็นลานจอดรถนั้น มีรถบนถนนเท่าไร ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างฐานข้อมูลการใช้ถนนของผู้ขับขี่ สำหรับการบริหารจัดการจราจรล่วงหน้า
 ในส่วนของผู้ขับขี่สามารถทราบล่วงหน้าก่อนออกจากบ้านว่า การจราจรบนถนนสาทรคล่องตัวหรือไม่ผ่านทาง www.traffy.in.th เว็บไซต์รายงานสภาพจราจร ที่เรียกดูได้บนโทรศัพท์มือถือและทวิตเตอร์ที่ twitter.com/traffy">www.twitter.com/traffy รวมถึงการส่งเป็นข้อความเอสเอ็มเอสแจ้งผู้ขับขี่ หรือแสดงบนป้ายโฆษณาอักษรวิ่ง เป็นต้น
 นายจตุพร ชินรุ่งเรือง หัวหน้าโครงการเซ็นเซอร์แม่เหล็กไร้สายสำหรับตรวจนับรถยนต์ เนคเทค กล่าวว่า ระบบตรวจนับรถนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมากรมทางหลวงใช้ประโยชน์จากระบบนี้ ประกอบการตัดสินใจตัดถนน รวมถึงวางแผนรับมือช่วงเทศกาลวันหยุดยาว แต่ระบบใช้เป็นเทคโนโลยีนำเข้า ราคาสูงถึง  50,000-100,000 บาท ทั้งการปรับตั้งค่าและการซ่อมแซมทำได้ไม่สะดวก เพราะบริษัทผู้ค้าอยู่ต่างประเทศ
 เนคเทคจึงร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบและพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจนับรถ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทดแทนการพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้า
 ปีที่ผ่านมาทีมวิจัยทดสอบประสิทธิภาพระบบตรวจนับดังกล่าว ณ ด่านเก็บเงินดอนเมืองโทลล์เวย์ 1 เดือน พบความแม่นยำในการนับจำนวนรถอยู่ที่ 98% ส่วนความถูกต้องด้านการแยกประเภทรถยนต์ 4 ล้อ ทั้งรถเก๋ง รถตู้และรถกระบะ อยู่ที่ 70% จึงยังต้องพัฒนาเพิ่มเพื่อให้ความแม่นยำที่ได้มากกว่า 95%
 อย่างไรก็ตาม นอกจากวางแผนที่จะติดตั้งใช้งานบนถนนสาทร ทีมงานยังเตรียมติดตั้งบริเวณลานจอดรถใต้ดิน อาคารส่วนงานกลาง สวทช.รังสิต เป็นการทดสอบความแม่นยำ ก่อนขยายผลส่งต่อความรู้ให้ภาคเอกชนต่อไป เพราะระบบตรวจนับรถนี้ นอกจากจะนับรถบนถนนแล้ว ยังใช้ประโยชน์ได้กับกิจการลานจอดรถ รวมถึงห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงานทั่วไป เพื่อวางแผนจัดสรรพื้นที่จอดรถยนต์ให้เหมาะสม 
 ในอนาคตเมื่อระบบจราจรอัจฉริยะทั้งป้ายสี-บอร์ดข้อความบอกสภาพถนน ป้ายอัจฉริยะบอกสายรถเมล์ที่กำลังจะจอดป้าย ไฟจราจรอัจฉริยะและอื่นๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ คงเห็นรอยยิ้มของผู้ขับขี่บนท้องถนน
กานต์ดา บุญเถื่อน








ข่าวที่เกี่ยวข้องซุบซิบข่ามโลก (พุธที่ 16 ธ.ค.52)ความจริงที่เราควรรู้ทักษิณมาเขมรทำไม... แอ่วเชียงใหม่สบายใจกับ'ทราฟฟี่'ปชป.แฉดูไบไล่แม้วเจ้าตัวทวิตพบ3ผู้นำเอเซีย ว.วชิรเมธีเปิดเกมรุกแพร่ธรรมเข็นวัดขึ้นเว็บไซต์

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive